วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ระบอบทักษิณ


ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy) เป็นคำนิยามที่นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อนิยามการปกครองของประเทศไทยภายใต้การปกครองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นระบอบที่ยึดกับความคิดและตัวตนของ พ.ต.ท.ทักษิณ จนไม่สนใจถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศแปรสภาพไปอยู่ในรูปแบบของเผด็จการรัฐสภา บ้างก็เรียกแบบการปกครองนี้ว่า "ทักษิณาธิปไตย", "ทรราชเสียงข้างมาก", และ "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์จากการเลือกตั้ง" ซึ่งทั้งหมดมาจากคำจำกัดความของระบอบทักษิณ[1] มุ่งโจมตีนโยบายในการบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเพิ่มความชอบธรรมให้กับเหตุการณ์การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นในช่วงพ.ศ. 2548-2549 อย่างไรก็ตาม คำนิยามนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนที่ต้องการขับไล่พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น

คำจำกัดความ


เกษียร เตชะพีระ เป็นผู้ให้นิยามคำว่าระบอบทักษิณ[2]เป็นคนแรก[ต้องการแหล่งอ้างอิง] โดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism) โดยคำนิยามดังกล่าวสามารถแยกอธิบายองค์ประกอบออกเป็นสองส่วนคือ 1. มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง 2. มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน

หลังจากนั้นได้มีการพยายามให้นิยามกับคำว่าระบอบทักษิณอีกหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น ในความคิดของ อ. แก้วสรร อติโพธิ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ [3] ดังนี้ 1. ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวพันธ์หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อหมู่คณะของตนเอง, 2. หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ สร้างกระแสระบบทุนนิยมโดยลืมความเป็นรากเหง้าความเป็นไทย, 3 โกงกินชาติบ้านเมือง ปัญหาคอรัปชั่นจำนวนมากมายไม่ได้แก้ไข ทำผลธุรกิจแอบแฝง, 4. ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข เป็นตัวกลางในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ

สาเหตุของการกล่าวหา

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ ปตท. และ กฟผ.
สำหรับ ปตท. เช่น เรื่องการกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรม ราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐที่ลดลงมาก การถือหุ้นผ่านกองทุนของต่างชาติ กำไรจากการขายก๊าซให้ กฟผ. ในราคาสูง
การแปรรูป กฟผ. นั้นมีคำสั่งจากศาลปกครองว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย [4]
การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
การคอรัปชั่นในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเรื่องเครื่องสแกนสัมภาระซีทีเอกซ์
การทำพิธีเป็นประธานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[5]
การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชซึ่งขณะนั้นทรงพระประชวร
การขายหุ้นในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานโทรศัพท์มือถือ, ดาวเทียมไทยคม, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสายการบินแอร์เอเซีย ให้กับ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์) โดยซื้อขายในตลาดหุ้นทำให้ไม่ต้องเสียภาษี
การใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและคุมคามสื่อ
การทุจริตข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น: