ดังได้กล่าวไปแล้วว่า ระเบียบวิธีการศึกษา หมายความถึง วิถีทางที่คน ๆ หนึ่งใช้ในการศึกษา ไม่ว่าจะนิยามหรือคำจำกัดความ หรือแนวทางในการวิเคราะห์ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่เป็นระบบหรือไม่ มีการสร้างแบบจำลองหรือตัวแบบของการศึกษาไว้หรือไม่ก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาแต่ละแบบที่มีอยู่ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้นักรัฐศาสตร์สามารถทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการเมืองได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น เกิดความรู้ความเข้าใจที่เที่ยงตรง และเนื่องจากรัฐศาสตร์มิได้กล่าวถึงเพียงแต่เรื่องการเมืองการปกครองประการเดียว แต่ยังหมายความกว้างถึงการศึกษาเกี่ยวกับการแจกแจงคุณค่าในเชิงอำนาจ การบริหารและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของสังคมรัฐศาสตร์นอกจากที่ต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะแล้ว ยังเป็นการสานความรู้หรือประสมประสานบูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านอื่น อาทิประวัติศาสตร์ เศรษศาสตร์ การจัดการมนุษยวิทยา เป็นต้น ประกอบเข้าไปด้วย ในอันที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่ศึกษาเรื่องรัฐศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน เป็นไปอย่างแตกฉานยิ่งขึ้น
ระเบียบวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์หากพิจารณาตามนิยามที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ก็กล่าวได้ว่าระเบียบวิธีการศึกษาเกิดขึ้นมาตั้งแต่แรกเริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองนั่นเอง เพียงแต่แตกต่างกันไปบ้างตามจุดเน้นของแต่ละวิธี ซึ่งพิจารณาได้จากงานเขียนของ สนธิ เตชานันท์ (2543, 9-17) ซึ่งได้จำแนกไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
1. แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์แบบเก่า (Traditional political science)
แนวการศึกษาแบบนี้ประกอบไปด้วยระเบียบวิธีการศึกษาหลายแบบ แต่ละแบบก็แตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้
1.1 แบบปรัชญาการเมืองคลาสสิค (Classical political philosophy)
แนวทางการวิเคราะห์แบบนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ การประเมินค่าสิ่งที่นักปรัชญาการเมืองสนใจ ประกอบกับการใช้วิธีการอนุมานหรือคาดคิดเอาด้วยเหตุด้วยผลเท่าที่มีอยู่ว่าการเมืองคืออะไร ระบบการปกครองที่ดีที่สุด ผู้ปกครองที่ดีที่สุดควรจะเป็นอย่างไร ดังที่ได่กล่าวไปแล้วในเรื่องแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการเมือง
1.2 แบบประวัติศาสตร์ (Historical method)
แนวทางการศึกษาแบบนี้ได้เริ่มต้นขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ใน สหรัฐอเมริกาและยังคงใช้กันมากในปัจจุบัน โดยนักรัฐศาสตร์เชื่อกันว่ารัฐศาสตร์มีต้นกำเนิดมาจากสาขาวิชาประวัติศาสตร์ หรือเป็นวิชาประวัติศาสตร์การเมืองซึ่งรวมตลอดถึงประวัติพรรคการเมือง ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และประวัติความคิดทางการเมืองที่สำคัญต่าง ๆ และเห็นว่าวิธีการศึกษาแบบนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจความเป็นจริงของสถาบันการเมืองต่าง ๆ ได้อย่างถ่องแท้
1.3 แบบกฎหมาย (Legalistic method)
แนวทางการศึกษาแบบนี้ถือว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่การศึกษาในเรื่องการเมืองกับกฎหมายหรือระบบกฎหมายมีความเกี่ยวพันกัน และได้กลายเป็นสิ่งที่วางพื้นฐานการศึกษารัฐศาสตร์อเมริกันที่พิจารณาว่า รัฐศาสตร์แท้จริงแล้วคือการศึกษาระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
1.4 แบบวิเคราะห์สถาบัน (Institutional analysis method)
แนวทางการวิเคราะห์แบบนี้เกิดขึ้นจากความตระหนักของนักรัฐศาสตร์ว่าการเมืองเป็นสิ่งที่มากไปกว่าระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้มีการพูดถึงการเมืองตามความเป็นจริงและเพียนงพ่อต่อการทำความเข้าใจรัฐศาสตร์ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้จากวิธีการศึกษาแบบกฎหมายและประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์สถาบันการเมืองจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้นักรัฐศาสตร์มองเห็นหรือได้ศึกษาเกี่ยวกับความป็นจริงทางการเมืองมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี จุดมุ่งหมายของวิธีการศึกษาแบบนี้มีลักษณะสำคัญของการพรรณารายละเอียดสถาบันทางการเมือง อำนาจ บทบาทและหน้าที่ของประธานาธิบดี ด้วยวิธีการสังเกตที่ไม่ลึกซึ้ง ที่มิใช่การอธิบายระบบการเมือง
2. ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงพฤติกรรมนิยม (Behavioralism)
ภายหลังที่นักรัฐศาสตร์ได้หันเหความสนใจไปศึกษาการเมืองในเชิงวิเคราะห์มากขึ้น เพื่อจะยกฐานะของวิชารัฐศาสตร์ให้ทัดเทียมกับวิชาสังคมศาสตร์อื่น ๆ พร้อมกับความก้าวหน้าทางระเบียบวิธีการศึกษาหลายอย่างที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ได้ก่อให้การศึกษาวิชารัฐศาสตร์หันเหความสนใจจากเดิมที่เป็นการอนุมานหรือการประเมินค่าสิ่งที่ศึกษาตามความเห็นหรือทัศนะของนักรัฐศาสตร์ เช่นที่นักวิชาการบางท่านเรียกว่าเป็น “การคาดคิดไปตามอำเภอใจ” ซึ่งได้รับการวิพากษ์ถึงความน่าเชื่อถือในแง่ความเป็นศาสตร์ที่สามารถนำมาอธิบายการเมืองได้อย่างกว้างขวางถูกต้อง ได้เป็นสิ่งผลักดันให้รัฐศาสตร์นำเอาเทคนิควิธีศึกษาเชิงศาสตร์อันได้แก่วิธีการเชิงปริมาณ การรวบรวมข้อมูลที่พิสูจน์ได้ สนใจปรากฎการณ์ที่สังเกตได้ การวัดที่มีความถูกต้องแม่นยำ การวิเคราะห์อย่างมีระเบียบวิธีและอ้างอิงทฤษฎี โดยเชื่อว่าทฤษฎีและผลของการค้นพบที่นำไปสู่ข้อสรุป จะช่วยเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของรัฐศาสตร์ทุกสาขา มาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์ไปด้วย โดยแนวทางการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมด้านหนึ่งได้แก่การเน้นในการศึกษาพฤติกรรมของผู้ดำเนินการทางการเมืองเป็นสำคัญ ที่มักจะปฏิเสธแนวทางแบบวิเคราะห์สถาบัน ซึ่งนักรัฐศาสตร์บางท่านเช่น เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้เรียกร้องให้นักรัฐศาสตร์หันมาสนใจศึกษาเกีย่วกับกิจกรรมทางการเมืองมากกว่าการศึกษาสถาบันทางการเมือง
3. ระเบียบวิธีการศึกษายุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-behavioralism)
วิธีการศึกษาแบบนี้มีที่มาจากการที่นักวิชาการรัฐศาสตร์รุนใหม่ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ไม่ยอมรับระเบียบวิธีการศึกษาแบบพฦติกรรมนิยมที่ยึดมั่นวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากเกินไ ป โดยวิภาควิจารณ์หรือกลับเคลื่อนไหวปฎิรูปวิชารัฐศาสตร์หรือเป็นยุคที่เรียกว่า “การปฏิวัติยุคหลังแนวการศึกษาเชิงพฤติกรรม (the Post-behavioralism Revolution)” โดยสาระสำคัญในแนวคิดของนักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้คือเห็นว่ายิ่งรัฐศาสตร์ใช้วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับการแยกค่านิยมออกจากการเมืองมากเท่าใด นักรัฐศาสตร์ก็จะยิ่งห่างไกลจากการเมืองมากขึ้นเท่านั้น และจะทำให้นักรัฐศาสตร์มุ่งแต่ความสนใจที่จะศึกษาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่าที่จะมองปัญหาสำคัญ ๆ ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ นักรัฐศาสตร์จึงต้องให้ความสำคัญต่อค่านิยมในการพิจารณาตัดสินเรื่องการเมืองการปกครอง อันแตกต่างไปจากการศึกษาเชิงพฤติกรรมนิยมที่มุ่งแยกส่วนค่านิยมออกจากข้อเท็จจริง
วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551
แนวทางการศึกษาวิเคราะห็และระเบียบวิธีการศึกษารัฐศาสตร์
แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์ (Approaches in Political Science)
ด้วยประการที่เป้าหมายหลักของการศึกษารัฐศาสตร์คือ การแสวงหาหนทางหรือการที่จะทำความเข้าใจ (understanding) ถึงที่มาและความเป็นไปของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมือง เพื่อที่จะหาคำอธิบายและคาดการณ์แนวโนม้ของปรากฎการณ์ดังกล่าวในอนาคต ไม่ว่าจะมีการนำความรู้ด้านนี้ไปใช้เพียงใด หรือไม่ และเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตามการที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมืองได้อย่างชัดเจนนั้น จะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์เป็นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ ด้วยการชี้ให้เห็นถึงระดับ ประเภทและทิศทางของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ในภาวะการณ์หนึ่ง อันทำให้เข้าใจได้ว่าปรากฎการณ์ทางการเมืองนั้นคืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร 31 หรือกล่าวได้ว่า นักรัฐศาสตร์จะใช้แนวทางการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นกรอบความคิด (Conceptual Framework) สำหรับการมองขอบข่าย สาระ และปัญหาของเรื่องรวมหรือปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เขาสนใจ
ความพยายามที่จะทำความเข้าใจและอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองนี้ ได้ก่อให้เกิดแนวทางการศึกษาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ขึ้นมาอย่างหลากหลาย เริ่มจากแนวทางที่เก่าแก่ที่สุดคือการนำแนวคิดเชิงปรัชญามาใช้พิจารณาและเลือกเป้าหมายทางการเมืองเพื่อเป็นแนวทางการปฏฏิบัติให้เกิดความสัมฤทธ์ผลในเป้าหมายยั้น นอกจากนี้ยังได้แก่ แนวคิดเชิงอำนาจ แนวคิดเรื่องสถาบัน แนวคิดในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะ เป็นต้น 32 ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีกรอบการมองและวิเคราะห์การเมืองแตกต่างกันลงไปในหลักการและรายละเอียด ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ทั้งหลายต่างเห็นพ้องกันว่า ในการศึกษารัฐศาสตร็ซึ่งได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณนั้น มิได้มีเพียงแนวทางการวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาแบบหนึ่งแบบใดที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป แม้อาจปรากฎว่าแนวทางการศึกษาวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาบางอย่างจะได้รักความนิยมในแง่ที่ถูกนำมาใช้เป็นรูปแบบหรือแนวทางในการศึกษากันอย่างกว้างขวาง แล้วแต่ความพยายามของนักรัฐศาสตร์แต่ละยุคแต่ละสมัยที่ต้องการจะทำความเข้าใจการเมืองในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิตมนุษย์ รวมทั้งการอธิบายและการนำเอาเหตุผล ข้อเท็จจริงไปสรุปเพื่อสร้างรูปแบบและแนวความคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์ (approach) หมายความได้ว่า เป็นวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณาสืบสาวราวเรื่องหรือตรวจสอบในเรื่องการเมือง 33 ซึ่งแตกต่างไปจากระเบียบวิธีการศึกษา (method) ที่หมายความถึงวิถีทางที่คน ๆ หนึ่งใช้ไนการศึกษา ไม่ว่าจะมีนิยามหรือคำจำกัดความ (definition) หรือแนวทางในการวิเคราะห์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่เป็นระบบหรือไม่ หรือมีการสร้างแบบจำลองหรือตัวแบบ (mode) ของการศึกษาไว้หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี พบว่า นักวิชาการยังมีความเห็นแตกต่างกันไปบ้างเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ อันเป็นผลมาจากมุมมองหรือทัศนะในการพิจารณาภูมิหลังของรัฐศาสตร์แต่ละแนวทางการศึกษา ซึ่งผู้เขียนได้นำมารวบรวมไว้ และขอทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า คำว่า “แนวทางการศึกษาวิเคราะห์” “แนวทางการศึกษา” “แนวทางการวิเคราะห์” แม้จะแตกต่างกันบ้างในเนื้อความ แต่ก็หมายความถึงประการเดียวกันคือ แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์หรือแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมือง นั่นเอง
เดวิด อี แอพเตอร์ (David E. Apter) ในหนังสือเรื่อง “Introduction to Political Analysis” ตีพิมพ์ในปี 1977 ได้แบ่งแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมืองออกเป็น 6 แนวทาง ดังนี้
1. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบปรัชญาการเมือง (Political Philosophy)
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ ถือได้ว่าเป็นแนวทางที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากปรัชญาสมัยกรีกโบราณ สาระสำคัญของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เป็นการพิจารณาถึงรูปแบบการปกครองที่ดี มีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งที่จะแสวงหาแนวทางการปรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้ใกล้เคียงสอดคล้องกับคุณค่าหรืออุดมคติที่ดีงามตามทัศนะของนักปรัชญาการเมืองโบราณ แนวทางการวิเคราะห์ของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น เพลโต้ อริสโตเติ้ล เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีส่วนในการเสนอแนะแนวทางในการพิจารณาที่มีผลสืบเนื่องมาสู้นักรัฐศาสตร์ในสมัยปัจจุบันได้แก่ สเตราส์ (Leo Strauss) ที่เห็นว่า กิจกรรมทางการเมืองโดยธรรมชาติเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับค่านิยม
2. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับรัฐ
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 จากอิทธิพลแนวคิดของมาเคียเวลลี่ (Machiavelli) ซึ่งมองสภาพความเป็นจริงทางการเมืองและได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับชนชั้นนักปกครองขึ้นมา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เรื่องรัฐนี้ได้รับการปรับปรุงไปตามบริบทของสังคมโดยเน้นในเรื่องโครงสร้างแห่งกฎเกณฑ์ที่เป็นทางการตามรัฐธรรมนูญ หรือมองรัฐในแง่กฎหมายมากขึ้น โดยเน้นถึงการกำเนิดรัฐและรูปแบบลักษณะของรัฐ
3. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงสถาบันการเมืองการปกครอง
แนวทางแบบนี้ เน้นในเรื่องของที่มาแห่งอำนาจและการแบ่งแยกอำนาจ โดยการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญและรูปแบบการปกครองและสถาบันในการปกครองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันฝ่ายบริหาร และสถาบันตุลาการ รวมทั้งเน้นไปที่การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น คาร์ล ฟรีดริช (Carl J. Friedrich) ในหนังสือเรื่อง “Constitutional governent and politics” ตีพิมพ์ในปี 1937 กล่าวว่า แนวทางการวิเคราะห์การเมืองแบบนี้ มักถูกนำไปใช้ในการศึกษาการปกครองเปรียบเทียบ
4. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับอำนาจ
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แนวนี้ ได้ให้ความสำคัญของการเมืองว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจ อันเป็นการกำหนดการมีส่วนร่วมในเรื่องอำนาจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะที่มนุษย์พยายามไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งอำนาจเพื่อการตัดสินใจ และบังคับให้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจ และในแนวคิดนี้ รัฐมิใช่โครงสร้างที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และกฎหมาย แต่เป็นโครงสร้างของกลุ่มต่าง ๆ ที่แข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและเครื่องมือของรัฐ และจะเห็นได้ว่าแนวทางการศึกษาแบบนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย กระทั่งช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวการศึกษาวิเคราะห์เชิงอำนาจได้ขยายความสนใจไปศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างบุคคลกับชุมชนมากข้น อันมีส่วนทำให้รัฐศาสตร์เข้าใกล้ชิดกับสังคมศาสตร์มากขึ้นไปโดยปริยาย
5. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการตัดสินใจและนโยบายสาธารณะ
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แนวนี้ มองว่ารัฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการตัดสินใจและเรื่องนโยบายสาธารณะ ซึ่งได้ก่อรูปขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 จุดสำคัญของแนวการศึกษาวิเคราะห์นี้กล่าวได้ว่าประกอบด้วย การเน้นที่กระบวนการตัดสินตกลงใจ (process of decision-making)และการเน้นที่เนื้อหานโยบาย (policy content)
ภายหลังปี 1945 เมื่อวิธีการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ได้รับความนิยมมากขึ้นในวงการรัฐศาสตร์ ได้มีส่วนผลักดันให้แนวการศึกษาวิเคราะห์ที่เน้นกระบวนการตัดสินตกลงใจในแนวแรก บดบังความสำคัญของการเน้นในเรื่องเนื้อหานโยบาย ซึ่งเป็นความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นเรื่องการประเมินค่าและการเสนอแนะนโยบาย และหลีกเลี่ยงประเด็นข้อถกเถียงถึงความเป็นกฎเกณฑ์อันเป็นสากลเชิงศาสตร์ แต่กระนั้นก็ดี การศึกษาเนื้อหานโยบายก็ได้รับความสนใจจากนักรัฐศาสตร์บางส่วนมรามุ่งศึกษาผลลัพธ์ต่อสังคมของนโยบาย (policy outcomes) มากขึ้น
6. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงระบบการเมือง
แนวทางนี้ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1950 โดยเป็นความมุ่งหมายที่จะมองการเมืองให้กว้างไปจากการศึกษาเฉพาะเรื่องของรัฐและเรื่องของสถาบันทางการเมืองการปกครอง ด้วยการพยายามสร้างทฤษฎีไปใช้ในการวิเคราะห์การเมืองได้ไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก โดนมุ่งเน้นศึกษาเรื่องกระบวนการทางการเมือง การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของระบบการเมือง มากกว่าโครงสร้างหรือสถาบันทางการเมือง
สนธิ เตชานันท์ ได้จำแนกแนวทางการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ไว้เป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย
1. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เชิงนโยบาย (policy approach)
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ พิจารณาการเมืองในแง่กระบวนการกำหนดนโยบาย ด้วยการนำแนวคิดเชิงระบบ (system analysis) มาศึกษา อธิบายรวมทั้งเป็นแนวทางการปรับปรุงกระบวนการนำเข้า (input) ส่วนที่ทำหน้าที่แปลงสิ่งนำเข้า (conversion) ส่วนนำออกจากระบบ (output) และส่วนย้อนกลับ (feedback) โดยมีความมุ่งหมายที่จะทำความเข้าใจและอธิบายการดำเนินการของกระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวจากการสังเกตผลการดำเนินงานเท่าที่จะสามารถกระทำได้ อันเป็นผลให้รัฐศาสตร์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิชาที่เน้นในเรื่องนโยบายศาสตร์
2. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงอำนาจ (power approach)
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เห็นว่า อำนาจ (power) และการต่อสู้แข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ เป็นแก่นสารัตถะหรือเนื้อแท้ของการเมือง ซึ่งแตกต่างไปจากแนวทางการวิเคราะห์เชิงนโยบายอย่างมาก เนื่องจากมิได้ให้ความสนใจมองว่าการเมืองเป็นกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนตามตัวแบบระบบ (systems model) แต่การเมือง เป็นการต่อสู้แข่งขันและการแสดงออกเชิงอิทธิพลของคนหรือกลุ่มคนที่ครอบงำต่อการทำงานของระบบการเมือง ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิเคราะห์การเมืองแนวนี้ จึงมีสาระสำคัญในการศึกษาถึงประเด็นการได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการคงไว้ซึ่งอำนาจทางการเมืองโดยเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุดในการทำความเข้าใจและอธิบายถึงคงามพ่ายแพ้และชัยชนะทางการเมืองได้
3. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงศิลธรรมหรือเป้าหมาย (moral and goals approach)
แนวทางการศึกษาแบบนี้ มิได้ให้ความสนใจต่อกระบวนการของระบบการเมืองและอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกับแนวทาง 2 แนวทางที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เป็นการพิจารณาถึงทิศทางและเป้าหมายของการเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะทางศิลธรรม รูปแบบพื้นฐานของความชอบ ความถูกต้อง และความเหมาะสมทางการเมือง ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดของขอบเขตอำนาจทางการเมือง อันดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักต่อการทำความเข้าใจ และมักปรากฎว่ามีนักรัฐศาสตร์จำนวนน้อยที่เห็นด้วยกับแนวทางการศึกษาแนวนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เชิงนโยบายและเชิงอำนาจเช่นที่ได้กล่าวถึงแล้ว
กล่าวโดยสรุป จากแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่เก่าแก่ซึ่งเกิดขึ้นมาควบคู่กับสังคมมนุษย์ในยุคสมัยที่เริ่มมีการรวมกลุ่มปกครองตนเองและสังคมอย่างชัดเจน นับย้อนไปได้ถึงยุคกรีกโบราณเมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว โดยเป็นวิชาที่ศึกษาถึงลักษณะและวัตถุประสงค์และการจัดองค์กรของรัฐ รวมถึงระบบการเมืองการปกครองและสถาบันเกี่ยวกับการเมืองการปกครองโดยได้วิวัฒนาการเชิงลักษณะวิชาผ่านยุคสมัยที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และยุคสมัยใหม่ ดังที่ได้แบ่งยุคการศึกษารัฐศาสตร์ให้เห็นกันไปแล้ว กระนั้น วิวัฒนาการของการศึกษารัฐศาสตร์ดังกล่าว ก็ล้วนแล้วแต่กำเนิดเกิดขึ้นและเป็นไปในบริบทของสังคม และเติบโตไปตามพลังทางเศรษฐกิจการเมืองของสังคมตะวันตก เนื้อหาสาระของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ก็ได้แตกต่างกันไปตามสภาวะการณ์ปัญหาทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยตามทัศนะของนักคิดนักปรัชญาการเมืองในยุคนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ที่แตกต่างกันหลากหลายดังกล่าว นักวิชาการรัฐศาสตร์บางรายหรือบางสำนักจึงอาจนิยมชมชอบแนวทางการศึกษาแนวใดแนวหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในขณะที่หลายรายอาจนำเอาแนวทางการศึกษาหลายแนวมาผสมผสานกัน ซึ่งได้ส่งผลให้ขอบเขตของการศึกษากว้างขวางออกไป ในบางยุคสมัย แนวทางการศึกษาหนึ่งอาจได้รับความนิยมอย่างโดดเด่น ในขณะที่บางแนวการศึกษาอาจไม่ได้รับการยอมรับและถูกต้องวิพารษ์วิจารณ์ถึงความถูกต้องเหมาะสมต่อการนำเอามาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ดังเช่น แม้รัฐศาสตร์ยุคใหม่จะนิยมแนวทางการศึกษาแบบประจักษ์นิยมเชิงตรรก (logical positivism) ซึ่งเป็นแนวทางและระเบียบวิธีการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์อย่างหนึ่งที่ไม่มีการตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดี หรือปราศจากค่านิยมต่อสิ่งที่ศึกษา ( value-free judgement) และมีความเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความเป็นเหตุเป็นผล (casuality) และความเป็นจริงของสิ่งที่นำมาศึกษา หรือที่เรียกกันว่า “การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)” ที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ในระยะต่อมา ได้มีนักรัฐศาสตร์ยุคใหม่ได้โต้แย้งว่า ท้จริงแล้วรัฐศาสตร์ที่ปราศจากคุณค่าหรือค่านิยม และอคติ อันเป็นสาระสำคัญของการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมนิยมนั้น หาได้เป็นความจริงแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากการเลือกประเด็นที่จะศึกษาก็เป็นการตัดสินใจที่แฝงคุณค่าหรือค่านิยมต่อเรื่องนั้นอยู่แล้ว เช่น การศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองโดยละเลยที่จะพิจารณา บทบาทของรัฐ นโยบายของรัฐและรูปแบบทางการเมืองการปกครอง ก็ย่อมเป็นข้อสรุปเบื้องต้นอย่างกลาย ๆ อยู่แล้วว่า ผู้ศึกษามองรูปแบบการปกครองของรัฐนั้นว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องของการแสดงฝักฝ่ายในการศึกษาอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การที่รัฐศาสตร์ล้วนพัวพันกับอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองการปกครองและการแบ่งสรรผลประโยชน์หรือคุณค่าต่าง ๆ ในสังคม ก็ยังป็นสิ่งที่สะท้องให้เห็นว่าความเป็นกลาง (neutrality) และความเป็นศาสตร์ (science) อย่างแท้จริงของรัฐศาสตร์แนวพฤติกรรมนิยมนี้ หาได้เป็นเช่นดังที่ เนวิล จอห์นสัน (Nevil Johnson) กล่าวไว้แต่อย่างใดเลย
แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันในวงวิชาการรัฐศาสตร์ว่า แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์นั้น พอจะแบ่งออกได้เป็น 6 แนวทางใหญ่ ๆ คือ
1. การศึกษาเรื่องรัฐบทบาทและหน้าที่ของรัฐ
2. การศึกษาเรื่องสถาบันทางการเมืองและการปกครอง ที่มาแห่งอำนาจ การบ่งสรรอำนาจและรูปแบบการปกครอง
3. การศึกษาเรื่องอำนาจ ผู้ครอบอำนาจ การใช้อำนาจหน้าที่
4. การศึกษาเรื่องการตัดสินตกลงใจและนโยบายสาธารณะ
5. การศึกษาเรื่องพฤติกรรมทางการเมือง ช่น การรวมกลุ่ม การลงคะแนนเสียง และทัศนคติทางการเมือง
6. การศึกษารัฐศาสตร์โดยพิจารณาถึงปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่เรียกว่า สังคมวิทยาการเมือง (Political Sociology) และ เศรษฐกิจการเมือง (Political economy)
ด้วยประการที่เป้าหมายหลักของการศึกษารัฐศาสตร์คือ การแสวงหาหนทางหรือการที่จะทำความเข้าใจ (understanding) ถึงที่มาและความเป็นไปของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมือง เพื่อที่จะหาคำอธิบายและคาดการณ์แนวโนม้ของปรากฎการณ์ดังกล่าวในอนาคต ไม่ว่าจะมีการนำความรู้ด้านนี้ไปใช้เพียงใด หรือไม่ และเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตามการที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมืองได้อย่างชัดเจนนั้น จะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์เป็นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ ด้วยการชี้ให้เห็นถึงระดับ ประเภทและทิศทางของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ในภาวะการณ์หนึ่ง อันทำให้เข้าใจได้ว่าปรากฎการณ์ทางการเมืองนั้นคืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร 31 หรือกล่าวได้ว่า นักรัฐศาสตร์จะใช้แนวทางการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นกรอบความคิด (Conceptual Framework) สำหรับการมองขอบข่าย สาระ และปัญหาของเรื่องรวมหรือปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เขาสนใจ
ความพยายามที่จะทำความเข้าใจและอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองนี้ ได้ก่อให้เกิดแนวทางการศึกษาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ขึ้นมาอย่างหลากหลาย เริ่มจากแนวทางที่เก่าแก่ที่สุดคือการนำแนวคิดเชิงปรัชญามาใช้พิจารณาและเลือกเป้าหมายทางการเมืองเพื่อเป็นแนวทางการปฏฏิบัติให้เกิดความสัมฤทธ์ผลในเป้าหมายยั้น นอกจากนี้ยังได้แก่ แนวคิดเชิงอำนาจ แนวคิดเรื่องสถาบัน แนวคิดในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะ เป็นต้น 32 ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีกรอบการมองและวิเคราะห์การเมืองแตกต่างกันลงไปในหลักการและรายละเอียด ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ทั้งหลายต่างเห็นพ้องกันว่า ในการศึกษารัฐศาสตร็ซึ่งได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณนั้น มิได้มีเพียงแนวทางการวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาแบบหนึ่งแบบใดที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป แม้อาจปรากฎว่าแนวทางการศึกษาวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาบางอย่างจะได้รักความนิยมในแง่ที่ถูกนำมาใช้เป็นรูปแบบหรือแนวทางในการศึกษากันอย่างกว้างขวาง แล้วแต่ความพยายามของนักรัฐศาสตร์แต่ละยุคแต่ละสมัยที่ต้องการจะทำความเข้าใจการเมืองในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิตมนุษย์ รวมทั้งการอธิบายและการนำเอาเหตุผล ข้อเท็จจริงไปสรุปเพื่อสร้างรูปแบบและแนวความคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์ (approach) หมายความได้ว่า เป็นวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณาสืบสาวราวเรื่องหรือตรวจสอบในเรื่องการเมือง 33 ซึ่งแตกต่างไปจากระเบียบวิธีการศึกษา (method) ที่หมายความถึงวิถีทางที่คน ๆ หนึ่งใช้ไนการศึกษา ไม่ว่าจะมีนิยามหรือคำจำกัดความ (definition) หรือแนวทางในการวิเคราะห์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่เป็นระบบหรือไม่ หรือมีการสร้างแบบจำลองหรือตัวแบบ (mode) ของการศึกษาไว้หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี พบว่า นักวิชาการยังมีความเห็นแตกต่างกันไปบ้างเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ อันเป็นผลมาจากมุมมองหรือทัศนะในการพิจารณาภูมิหลังของรัฐศาสตร์แต่ละแนวทางการศึกษา ซึ่งผู้เขียนได้นำมารวบรวมไว้ และขอทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า คำว่า “แนวทางการศึกษาวิเคราะห์” “แนวทางการศึกษา” “แนวทางการวิเคราะห์” แม้จะแตกต่างกันบ้างในเนื้อความ แต่ก็หมายความถึงประการเดียวกันคือ แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์หรือแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมือง นั่นเอง
เดวิด อี แอพเตอร์ (David E. Apter) ในหนังสือเรื่อง “Introduction to Political Analysis” ตีพิมพ์ในปี 1977 ได้แบ่งแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมืองออกเป็น 6 แนวทาง ดังนี้
1. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบปรัชญาการเมือง (Political Philosophy)
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ ถือได้ว่าเป็นแนวทางที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากปรัชญาสมัยกรีกโบราณ สาระสำคัญของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เป็นการพิจารณาถึงรูปแบบการปกครองที่ดี มีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งที่จะแสวงหาแนวทางการปรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้ใกล้เคียงสอดคล้องกับคุณค่าหรืออุดมคติที่ดีงามตามทัศนะของนักปรัชญาการเมืองโบราณ แนวทางการวิเคราะห์ของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น เพลโต้ อริสโตเติ้ล เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีส่วนในการเสนอแนะแนวทางในการพิจารณาที่มีผลสืบเนื่องมาสู้นักรัฐศาสตร์ในสมัยปัจจุบันได้แก่ สเตราส์ (Leo Strauss) ที่เห็นว่า กิจกรรมทางการเมืองโดยธรรมชาติเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับค่านิยม
2. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับรัฐ
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 จากอิทธิพลแนวคิดของมาเคียเวลลี่ (Machiavelli) ซึ่งมองสภาพความเป็นจริงทางการเมืองและได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับชนชั้นนักปกครองขึ้นมา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เรื่องรัฐนี้ได้รับการปรับปรุงไปตามบริบทของสังคมโดยเน้นในเรื่องโครงสร้างแห่งกฎเกณฑ์ที่เป็นทางการตามรัฐธรรมนูญ หรือมองรัฐในแง่กฎหมายมากขึ้น โดยเน้นถึงการกำเนิดรัฐและรูปแบบลักษณะของรัฐ
3. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงสถาบันการเมืองการปกครอง
แนวทางแบบนี้ เน้นในเรื่องของที่มาแห่งอำนาจและการแบ่งแยกอำนาจ โดยการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญและรูปแบบการปกครองและสถาบันในการปกครองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันฝ่ายบริหาร และสถาบันตุลาการ รวมทั้งเน้นไปที่การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น คาร์ล ฟรีดริช (Carl J. Friedrich) ในหนังสือเรื่อง “Constitutional governent and politics” ตีพิมพ์ในปี 1937 กล่าวว่า แนวทางการวิเคราะห์การเมืองแบบนี้ มักถูกนำไปใช้ในการศึกษาการปกครองเปรียบเทียบ
4. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับอำนาจ
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แนวนี้ ได้ให้ความสำคัญของการเมืองว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจ อันเป็นการกำหนดการมีส่วนร่วมในเรื่องอำนาจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะที่มนุษย์พยายามไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งอำนาจเพื่อการตัดสินใจ และบังคับให้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจ และในแนวคิดนี้ รัฐมิใช่โครงสร้างที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และกฎหมาย แต่เป็นโครงสร้างของกลุ่มต่าง ๆ ที่แข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและเครื่องมือของรัฐ และจะเห็นได้ว่าแนวทางการศึกษาแบบนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย กระทั่งช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวการศึกษาวิเคราะห์เชิงอำนาจได้ขยายความสนใจไปศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างบุคคลกับชุมชนมากข้น อันมีส่วนทำให้รัฐศาสตร์เข้าใกล้ชิดกับสังคมศาสตร์มากขึ้นไปโดยปริยาย
5. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการตัดสินใจและนโยบายสาธารณะ
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แนวนี้ มองว่ารัฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการตัดสินใจและเรื่องนโยบายสาธารณะ ซึ่งได้ก่อรูปขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 จุดสำคัญของแนวการศึกษาวิเคราะห์นี้กล่าวได้ว่าประกอบด้วย การเน้นที่กระบวนการตัดสินตกลงใจ (process of decision-making)และการเน้นที่เนื้อหานโยบาย (policy content)
ภายหลังปี 1945 เมื่อวิธีการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ได้รับความนิยมมากขึ้นในวงการรัฐศาสตร์ ได้มีส่วนผลักดันให้แนวการศึกษาวิเคราะห์ที่เน้นกระบวนการตัดสินตกลงใจในแนวแรก บดบังความสำคัญของการเน้นในเรื่องเนื้อหานโยบาย ซึ่งเป็นความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นเรื่องการประเมินค่าและการเสนอแนะนโยบาย และหลีกเลี่ยงประเด็นข้อถกเถียงถึงความเป็นกฎเกณฑ์อันเป็นสากลเชิงศาสตร์ แต่กระนั้นก็ดี การศึกษาเนื้อหานโยบายก็ได้รับความสนใจจากนักรัฐศาสตร์บางส่วนมรามุ่งศึกษาผลลัพธ์ต่อสังคมของนโยบาย (policy outcomes) มากขึ้น
6. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงระบบการเมือง
แนวทางนี้ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1950 โดยเป็นความมุ่งหมายที่จะมองการเมืองให้กว้างไปจากการศึกษาเฉพาะเรื่องของรัฐและเรื่องของสถาบันทางการเมืองการปกครอง ด้วยการพยายามสร้างทฤษฎีไปใช้ในการวิเคราะห์การเมืองได้ไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก โดนมุ่งเน้นศึกษาเรื่องกระบวนการทางการเมือง การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของระบบการเมือง มากกว่าโครงสร้างหรือสถาบันทางการเมือง
สนธิ เตชานันท์ ได้จำแนกแนวทางการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ไว้เป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย
1. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เชิงนโยบาย (policy approach)
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้ พิจารณาการเมืองในแง่กระบวนการกำหนดนโยบาย ด้วยการนำแนวคิดเชิงระบบ (system analysis) มาศึกษา อธิบายรวมทั้งเป็นแนวทางการปรับปรุงกระบวนการนำเข้า (input) ส่วนที่ทำหน้าที่แปลงสิ่งนำเข้า (conversion) ส่วนนำออกจากระบบ (output) และส่วนย้อนกลับ (feedback) โดยมีความมุ่งหมายที่จะทำความเข้าใจและอธิบายการดำเนินการของกระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวจากการสังเกตผลการดำเนินงานเท่าที่จะสามารถกระทำได้ อันเป็นผลให้รัฐศาสตร์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิชาที่เน้นในเรื่องนโยบายศาสตร์
2. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงอำนาจ (power approach)
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์แบบนี้เห็นว่า อำนาจ (power) และการต่อสู้แข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ เป็นแก่นสารัตถะหรือเนื้อแท้ของการเมือง ซึ่งแตกต่างไปจากแนวทางการวิเคราะห์เชิงนโยบายอย่างมาก เนื่องจากมิได้ให้ความสนใจมองว่าการเมืองเป็นกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนตามตัวแบบระบบ (systems model) แต่การเมือง เป็นการต่อสู้แข่งขันและการแสดงออกเชิงอิทธิพลของคนหรือกลุ่มคนที่ครอบงำต่อการทำงานของระบบการเมือง ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิเคราะห์การเมืองแนวนี้ จึงมีสาระสำคัญในการศึกษาถึงประเด็นการได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการคงไว้ซึ่งอำนาจทางการเมืองโดยเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุดในการทำความเข้าใจและอธิบายถึงคงามพ่ายแพ้และชัยชนะทางการเมืองได้
3. แนวทางการศึกษาวิเคราะห์เชิงศิลธรรมหรือเป้าหมาย (moral and goals approach)
แนวทางการศึกษาแบบนี้ มิได้ให้ความสนใจต่อกระบวนการของระบบการเมืองและอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกับแนวทาง 2 แนวทางที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เป็นการพิจารณาถึงทิศทางและเป้าหมายของการเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะทางศิลธรรม รูปแบบพื้นฐานของความชอบ ความถูกต้อง และความเหมาะสมทางการเมือง ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดของขอบเขตอำนาจทางการเมือง อันดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักต่อการทำความเข้าใจ และมักปรากฎว่ามีนักรัฐศาสตร์จำนวนน้อยที่เห็นด้วยกับแนวทางการศึกษาแนวนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เชิงนโยบายและเชิงอำนาจเช่นที่ได้กล่าวถึงแล้ว
กล่าวโดยสรุป จากแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่เก่าแก่ซึ่งเกิดขึ้นมาควบคู่กับสังคมมนุษย์ในยุคสมัยที่เริ่มมีการรวมกลุ่มปกครองตนเองและสังคมอย่างชัดเจน นับย้อนไปได้ถึงยุคกรีกโบราณเมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว โดยเป็นวิชาที่ศึกษาถึงลักษณะและวัตถุประสงค์และการจัดองค์กรของรัฐ รวมถึงระบบการเมืองการปกครองและสถาบันเกี่ยวกับการเมืองการปกครองโดยได้วิวัฒนาการเชิงลักษณะวิชาผ่านยุคสมัยที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และยุคสมัยใหม่ ดังที่ได้แบ่งยุคการศึกษารัฐศาสตร์ให้เห็นกันไปแล้ว กระนั้น วิวัฒนาการของการศึกษารัฐศาสตร์ดังกล่าว ก็ล้วนแล้วแต่กำเนิดเกิดขึ้นและเป็นไปในบริบทของสังคม และเติบโตไปตามพลังทางเศรษฐกิจการเมืองของสังคมตะวันตก เนื้อหาสาระของแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ก็ได้แตกต่างกันไปตามสภาวะการณ์ปัญหาทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยตามทัศนะของนักคิดนักปรัชญาการเมืองในยุคนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ที่แตกต่างกันหลากหลายดังกล่าว นักวิชาการรัฐศาสตร์บางรายหรือบางสำนักจึงอาจนิยมชมชอบแนวทางการศึกษาแนวใดแนวหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในขณะที่หลายรายอาจนำเอาแนวทางการศึกษาหลายแนวมาผสมผสานกัน ซึ่งได้ส่งผลให้ขอบเขตของการศึกษากว้างขวางออกไป ในบางยุคสมัย แนวทางการศึกษาหนึ่งอาจได้รับความนิยมอย่างโดดเด่น ในขณะที่บางแนวการศึกษาอาจไม่ได้รับการยอมรับและถูกต้องวิพารษ์วิจารณ์ถึงความถูกต้องเหมาะสมต่อการนำเอามาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ดังเช่น แม้รัฐศาสตร์ยุคใหม่จะนิยมแนวทางการศึกษาแบบประจักษ์นิยมเชิงตรรก (logical positivism) ซึ่งเป็นแนวทางและระเบียบวิธีการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์อย่างหนึ่งที่ไม่มีการตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดี หรือปราศจากค่านิยมต่อสิ่งที่ศึกษา ( value-free judgement) และมีความเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความเป็นเหตุเป็นผล (casuality) และความเป็นจริงของสิ่งที่นำมาศึกษา หรือที่เรียกกันว่า “การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)” ที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ในระยะต่อมา ได้มีนักรัฐศาสตร์ยุคใหม่ได้โต้แย้งว่า ท้จริงแล้วรัฐศาสตร์ที่ปราศจากคุณค่าหรือค่านิยม และอคติ อันเป็นสาระสำคัญของการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมนิยมนั้น หาได้เป็นความจริงแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากการเลือกประเด็นที่จะศึกษาก็เป็นการตัดสินใจที่แฝงคุณค่าหรือค่านิยมต่อเรื่องนั้นอยู่แล้ว เช่น การศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองโดยละเลยที่จะพิจารณา บทบาทของรัฐ นโยบายของรัฐและรูปแบบทางการเมืองการปกครอง ก็ย่อมเป็นข้อสรุปเบื้องต้นอย่างกลาย ๆ อยู่แล้วว่า ผู้ศึกษามองรูปแบบการปกครองของรัฐนั้นว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องของการแสดงฝักฝ่ายในการศึกษาอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การที่รัฐศาสตร์ล้วนพัวพันกับอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองการปกครองและการแบ่งสรรผลประโยชน์หรือคุณค่าต่าง ๆ ในสังคม ก็ยังป็นสิ่งที่สะท้องให้เห็นว่าความเป็นกลาง (neutrality) และความเป็นศาสตร์ (science) อย่างแท้จริงของรัฐศาสตร์แนวพฤติกรรมนิยมนี้ หาได้เป็นเช่นดังที่ เนวิล จอห์นสัน (Nevil Johnson) กล่าวไว้แต่อย่างใดเลย
แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันในวงวิชาการรัฐศาสตร์ว่า แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์นั้น พอจะแบ่งออกได้เป็น 6 แนวทางใหญ่ ๆ คือ
1. การศึกษาเรื่องรัฐบทบาทและหน้าที่ของรัฐ
2. การศึกษาเรื่องสถาบันทางการเมืองและการปกครอง ที่มาแห่งอำนาจ การบ่งสรรอำนาจและรูปแบบการปกครอง
3. การศึกษาเรื่องอำนาจ ผู้ครอบอำนาจ การใช้อำนาจหน้าที่
4. การศึกษาเรื่องการตัดสินตกลงใจและนโยบายสาธารณะ
5. การศึกษาเรื่องพฤติกรรมทางการเมือง ช่น การรวมกลุ่ม การลงคะแนนเสียง และทัศนคติทางการเมือง
6. การศึกษารัฐศาสตร์โดยพิจารณาถึงปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่เรียกว่า สังคมวิทยาการเมือง (Political Sociology) และ เศรษฐกิจการเมือง (Political economy)
ขอบข่ายหรือสาขาของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์
แม้ในปัจจุบันนักรัฐศาสตร์ต่างยังไม่อาจหาข้อยุติได้ว่าการศึกษารัฐศาสตร์ควรมีขอบข่ายวิชาครอบคลุมไปในเรื่องขอลข่ายอะไรบ้างและควรศึกษาอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของวิธีการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ และผู้เขียนเอกสารบรรยายก็มิได้มุ่งประสงค์ที่จะชี้ข้อสรุปเช่นนั้น ดังจะเห็นได้จากขอบข่ายการศึกษาวิชานี้ที่ได้ยกมาให้เห็นอย่างค่อนข้างหลากหลายแต่อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในทางหนึ่ง ไม่ว่าขอบข่ายของการศึกษารัฐศาสตร์จะเป็นไปในแบบใด ต่างก็เน้นไปที่ความมุ่งหมายของการศึกษารัฐศาสตร์อย่างน้อย 2 ประการ คือ (1) เพื่อแสวงหาความเป็นศาสตร์ทางการเมือง และ (2) แสวงหาหนทางไปสู่ความมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ในสังคม ด้วยกันทั้งสิ้น
การศึกษาวิชารัฐศาสตร์หรือแขนงวิชารัฐศาสตร์นั้น ได้มีนักวิชาการทั้งต่างประเทศและนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ไทยได้จำแนกแยกย่อยขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์ไว้หลายแขนง เช่นที่ เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 10-11) ได้จำแนกขอบเขตการศึกษารัฐศาสตร์เพื่อความสะดวกและประโยชน์ในการวิจัย ออกเป็น 6 แขนงประกอบด้วย
1.ทฤษฎีการเมืองและประวัติความคิดทางการเมือง (Political theory and History of political thought)
กลุ่มนี้วิจัยถึงทฤษฎี ตำราและความคิดเห็นต่าง ๆ ที่สำคัญตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันเพื่อทราบถึงเหตุและผล รวมทั้งการต่อเนื่องกันของสถาบันการเมือง
2.สถาบันทางการเมือง (political inlititutions)
สาขาวิชานี้เจาะจงวิจัยและนิยามระบบ องค์ประกอบ และอำนาจของสถาบันทางการเมือง รวมทั้งนโยบายการจัดตั้งและโครงร่างของการปกครองของรัฐ (รวมทั้งการปกครองส่วนท้องถิ่น) และการปกครองเปรียบเทียบระหว่างรัฐ (Comparative govemment)
3.กฎหมายสาธารณะ (Public laws)
กลุ่มนี้มุ่งไปในงานวิจัยรากฐานของรัฐรวมทั้งปัญหาของการแบ่งแยกอำนาจ ค้นคว้าถึงความสัมพันธ์ของกฎหมายทั่วไปกับกฎหมายสูงสุดของรัฐ และปัญหาการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย การพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของระบบศาลยุติธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างจารีตประเพณีกับกฎหมายด้วย
4.พรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพลและประชามติ (Political parties, Pressure hroups and publics opinion)
กลุ่มนี้พิจารณาถึงบทบาท จุดประสงค์การจัดตั้งและผลของพรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพล และประชามติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อสถาบันทางการเมืองรวมทั้งการประเมินผลการใช้ปัจจัยทั้งสามโดยนักการเมือง
5.รัฐประศาสนศาสตร์ (Public administration)
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการกำลังคน เงินและวัตถุ ในอันที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตจำนงของการปกครองของรัฐ กลุ่มนี้จึงเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติ (execution) ให้เป็นไปตามอุดมคติและจุดประสงค์ของรัฐอย่างมีสมรรถภาพและได้ผลที่สุด
6. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation)
พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนโยบาย หลักการและวิธีการในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐแขนงวิชาที่รวมอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ นโยบายต่างประเทศ การเมืองและการบริหารระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศและการดำเนินการทางการฑูต
จรูญ สุภาพ (2522, 7-10) ได้จำแนกขอบเขตการศึกษารัฐศาสตร์ออกเป็น 8 แขนง ประกอบด้วย
1. ทฤษฎีหรือปรัชญาการเมือง
คำว่า “ทฤษฎีการเมือง (Political Theory)” นั้น มีความเกี่ยวข้องกับหลายคำที่เราท่านอาจเคยได้ยินหรือคุ้นเคยมาบ้างเช่นคำว่า “ความคิดทางการเมือง (Political Thought)” ซึ่งหมายถึง ความเชื่อเกี่ยวกับการเมืองของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดในยุคหนึ่งยุคใดและปรัชญาทางการเมือง อันหมายถึง หลักจริยธรรมซึ่งถือเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของสังคม อันเป็นเสมือนหลักการแห่งเหตุผล หรืออธิบายในแง่หนึ่งได้ว่าเป็นเหมือนราดฐานของระบบการเมือง ซึ่งแต่ละรูปแบบระบบการเมืองก็จะมีปรัชญาการเมืองเป็นเบื้องหลังแตกต่างกันไป ควบคู่ไปกับอุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) ซึ่งเป็นเสมือนเป้าหมายทางการเมืองที่เป็นพลังผลักดันให้มนุษย์มีพฤติกรรมหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น เหตุที่ทฤษฎีทางการเมืองเกี่ยวข้องกับปรัชญาทางการเมือง และความคิดทางการเมืองก็เนื่องมาจาก ทฤษฎีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่มีรากฐานมาจากวิชาปรัชญาการเมืองหรือความคิดทางการเมือง (ทินพันธ์ นาคะตะ 2541, 19)
นอกจากนี้ ทฤษฎีการเมืองนี้สิ่งสำคัญยังช่วยให้นักรัฐศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลที่ได้จากสาขาวิชาอื่น และดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่เกี่ยวกับการเมืองได้อย่างมีกรอบและทิศทางอ้างอิง และสามารถนำข้อมูลนั้นมาหาข้อสรุปและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติ เช่น การใช้หลักกฏหมายในการปกครองประเทศ การถ่วงดุลอำนาจ เป็นต้น
2. พรรคการเมือง มติมหาชน และกลุ่มอิทธิพล ซึ่งรวมเรียกว่า Political Dynamics
สาขาวิชานี้นับได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ได้รับความสนใจกันทั่วไป โดยเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาถึงพลังต่าง ๆ ที่มีผลต่อรัฐบาลและการเมือง เช่น อำนาจทางศิลธรรม เศรษฐกิจสังคม เป็นต้น และพลังอำนาจเหล่านี้ จะช่วยให้เข้าใจถึงการดำเนินงานทางการเมืองและลักษณะแห่งปรากฎการณ์ทางการเมือง สาขานี้ครอบคลุมถึงการศึกษาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ องค์การ และวิธีการต่าง ๆ ของพรรคการเมือง บทบาทของกลุ่มอิทธิพล การวัดและการใช้มติมหาชน การวิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อ และคำที่สือความหมายทางการเมือง ประโยชน์ของวิชานี้คือช่วยในการวิเคราะห์ทางการเมือง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง
3. กฎหมายที่เกี่ยวกับสาธารณะหรือกฎหมายมหาชน
การศึกษารัฐศาสตร์ในสาขากฎหมายมหาชน นับได้ว่ามีพัฒนาการความเป็น มาอันยาวนาน กระทั่งกล่าวได้ว่ากฎหมายมหาชนเป็นองค์ประกอบที่เก่าแก่ที่สุดของรัฐศาสตร์ ในอดีตกฎหมายมหาชนศึกษาเกี่ยวกับอำนาจและขอบเขตแห่งอำนาจของรัฐบาลการควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยรัฐบาล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคลกัลรัฐบาล เช่น การศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เป็นต้น ส่วนปัจจุบันกฎหมายมหาชนได้หันมาศึกษาถึงปกากฎการณ์ทางกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับการเมืองการปกครอง เช่น แนวความคิดต่าง ๆ ที่เน้นในกฎหมายรัฐธรรมนูญ การกำหนดและตีความในข้อบัญญัติเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานของรัฐบาล กฎหมายปกครอง ตลอดจนการศึกษาในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กระบวนการตุลาการกล่าวเช่นนี้ นักศึกษาจะเห็นภาพได้ว่า วิชารัฐศาสตร์จะเริ่มต้นด้วยการศึกษาเกี่ยวกับหรือสัมพันธ์กัยกฎหมายมหาชนอย่างแยกไม่ออก เนื่องจากกิจกรรมเกือบทุกอย่างของรัฐบาลย่อมมีความเกี่ยวพันกับกฎหมายอยู่เสมอ
4. รัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ นับได้ว่าเป็นสาขาหรือแขนงใหม่ของวิชารัฐศาสตร์ เนื่องจากการที่รัฐบาลมีขอบเขตการทำงานหรือการบริหารงาน ที่ต้องนำเอากฎหมายและนโยบาลการตัดสินใจไปสู้การปฏิบัติที่กว้างขวางมากขึ้นนอกจากนี้ ยังเป็นความสำคัญที่จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ ในการจัดองค์การและการบริหารงาน โดยมุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ในปัจจุบัน การศึกษารัฐประศาสตร์มีความสัมพันธ์กับรัฐศาสตร์และประกอบไปด้วยการศึกษาที่ยึดหลักประสิทธิภาพในการบริหาร ความเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง นโยบาย และการบริหาร มนุษย์สัมพันธ์ ภาวะผู้นำ องค์การสาธารณะ ระบบราชการ ทฤษฎีองค์การ รัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ พัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้งเทคนิคตลอดจนวิธีดำเนินการวิจัยทางการปฏิบัติการใหม่ ๆ เป็นต้น
5.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการฑูต การเมืองระหว่างประเทศกฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
การศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ได้รับความสนใจอย่างมาก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งก่อนสงครามโลกครั้งดังกล่าว มิได้ถือกันว่าวิชานี้เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ โดยต่อมาได้รับความนิยมมากขึ้นในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระยะหลังมีหลายสาขาที่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาทิเช่น การฑูต การเมืองระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศนโยบายต่างประเทศ ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์และความรู้ของวิชาต่าง ๆ ในสาขาสังคมศาสตร์ด้วย เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากร เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นต้น
6.รัฐบาลเปรียบเทียบ
สาขาวิชานี้นับได้ว่าเป็นสาขาวิชาที่เก่าแก่ที่สุดสาขาหนึ่ง พอ ๆ กับวิชาทฤษฎีการเมือง ดูได้จากการศึกษาสังเกตลักษณะของรัฐบาลต่าง ๆ ของอริสโตเติ้ลในสมัยโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษารัฐบาลเปรียบเทียบเป็นครั้งแรกของโลก สาระสำคัญของวิชานี้คือการสำรวจศึกษาระบบ รัฐบาลและการเมืองของประเทศต่าง ๆ ในนานาทวีป
7. สภา (Legislature) และการออกกฎหมาย (Legislation)
8. รัฐบาล และการธุรกิจ
โรดี และคณะ (Rodee and Others 1983, 7-15) กล่าวว่า นับเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปี ที่วิชารัฐศาสตร์ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับรัฐในเรื่องการกำเกิดรัฐ การตัดสินความ ข้อจำกัดอำนาจหน้าที่ กระบวนการและกระบวนการวิธีเหมาะสมในการศึกษา แต่กระนั้น นักรัฐศาสตร์ก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับการจำแนกแยกย่อยขอบเขตของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ที่สมบูรณ์และถูกต้องเพียงพอ (complete and sufficiently exact)
โรดี และคณะ (Rodee and Others 1983, 7-15) ได้จำแนกขอบเขตการศึกษารัฐศาสตร์ไว้ 12 สาขาด้วยกัน กล่าวคือ
1. ปรัชญาการเมือง (Political philosophy)
2. การตัดสินความและกระบวนการทางกฎหมาย (Judicial and legal process)
3. กระบวนการทางบริหาร (Executive process)
4. องค์การทางการบริหารและพฤติกรรม (Administrative organization and behavior)
5. การเมืองว่าด้วยการนิติบัญญัติ (Legislative politics)
6. พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ (Political parties and interest groups)
7. การออกเสียงและมติมหาชน (Voting and public opinion)
8. การกล่อมเกลาทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมือง (Political socialization and political culture)
9. การเมืองเปรียบเทียบ (Comparative politics)
10. การพัฒนาทางการเมือง (Political development)
11. การเมืองระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ (International politics and organization)
12. ทฤษฎีทางการเมืองและวิธีการศึกษา (Political theories and methodology
การศึกษาวิชารัฐศาสตร์หรือแขนงวิชารัฐศาสตร์นั้น ได้มีนักวิชาการทั้งต่างประเทศและนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ไทยได้จำแนกแยกย่อยขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์ไว้หลายแขนง เช่นที่ เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 10-11) ได้จำแนกขอบเขตการศึกษารัฐศาสตร์เพื่อความสะดวกและประโยชน์ในการวิจัย ออกเป็น 6 แขนงประกอบด้วย
1.ทฤษฎีการเมืองและประวัติความคิดทางการเมือง (Political theory and History of political thought)
กลุ่มนี้วิจัยถึงทฤษฎี ตำราและความคิดเห็นต่าง ๆ ที่สำคัญตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันเพื่อทราบถึงเหตุและผล รวมทั้งการต่อเนื่องกันของสถาบันการเมือง
2.สถาบันทางการเมือง (political inlititutions)
สาขาวิชานี้เจาะจงวิจัยและนิยามระบบ องค์ประกอบ และอำนาจของสถาบันทางการเมือง รวมทั้งนโยบายการจัดตั้งและโครงร่างของการปกครองของรัฐ (รวมทั้งการปกครองส่วนท้องถิ่น) และการปกครองเปรียบเทียบระหว่างรัฐ (Comparative govemment)
3.กฎหมายสาธารณะ (Public laws)
กลุ่มนี้มุ่งไปในงานวิจัยรากฐานของรัฐรวมทั้งปัญหาของการแบ่งแยกอำนาจ ค้นคว้าถึงความสัมพันธ์ของกฎหมายทั่วไปกับกฎหมายสูงสุดของรัฐ และปัญหาการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย การพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของระบบศาลยุติธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างจารีตประเพณีกับกฎหมายด้วย
4.พรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพลและประชามติ (Political parties, Pressure hroups and publics opinion)
กลุ่มนี้พิจารณาถึงบทบาท จุดประสงค์การจัดตั้งและผลของพรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพล และประชามติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อสถาบันทางการเมืองรวมทั้งการประเมินผลการใช้ปัจจัยทั้งสามโดยนักการเมือง
5.รัฐประศาสนศาสตร์ (Public administration)
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการกำลังคน เงินและวัตถุ ในอันที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตจำนงของการปกครองของรัฐ กลุ่มนี้จึงเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติ (execution) ให้เป็นไปตามอุดมคติและจุดประสงค์ของรัฐอย่างมีสมรรถภาพและได้ผลที่สุด
6. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation)
พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนโยบาย หลักการและวิธีการในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐแขนงวิชาที่รวมอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ นโยบายต่างประเทศ การเมืองและการบริหารระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศและการดำเนินการทางการฑูต
จรูญ สุภาพ (2522, 7-10) ได้จำแนกขอบเขตการศึกษารัฐศาสตร์ออกเป็น 8 แขนง ประกอบด้วย
1. ทฤษฎีหรือปรัชญาการเมือง
คำว่า “ทฤษฎีการเมือง (Political Theory)” นั้น มีความเกี่ยวข้องกับหลายคำที่เราท่านอาจเคยได้ยินหรือคุ้นเคยมาบ้างเช่นคำว่า “ความคิดทางการเมือง (Political Thought)” ซึ่งหมายถึง ความเชื่อเกี่ยวกับการเมืองของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดในยุคหนึ่งยุคใดและปรัชญาทางการเมือง อันหมายถึง หลักจริยธรรมซึ่งถือเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของสังคม อันเป็นเสมือนหลักการแห่งเหตุผล หรืออธิบายในแง่หนึ่งได้ว่าเป็นเหมือนราดฐานของระบบการเมือง ซึ่งแต่ละรูปแบบระบบการเมืองก็จะมีปรัชญาการเมืองเป็นเบื้องหลังแตกต่างกันไป ควบคู่ไปกับอุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) ซึ่งเป็นเสมือนเป้าหมายทางการเมืองที่เป็นพลังผลักดันให้มนุษย์มีพฤติกรรมหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น เหตุที่ทฤษฎีทางการเมืองเกี่ยวข้องกับปรัชญาทางการเมือง และความคิดทางการเมืองก็เนื่องมาจาก ทฤษฎีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่มีรากฐานมาจากวิชาปรัชญาการเมืองหรือความคิดทางการเมือง (ทินพันธ์ นาคะตะ 2541, 19)
นอกจากนี้ ทฤษฎีการเมืองนี้สิ่งสำคัญยังช่วยให้นักรัฐศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลที่ได้จากสาขาวิชาอื่น และดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่เกี่ยวกับการเมืองได้อย่างมีกรอบและทิศทางอ้างอิง และสามารถนำข้อมูลนั้นมาหาข้อสรุปและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติ เช่น การใช้หลักกฏหมายในการปกครองประเทศ การถ่วงดุลอำนาจ เป็นต้น
2. พรรคการเมือง มติมหาชน และกลุ่มอิทธิพล ซึ่งรวมเรียกว่า Political Dynamics
สาขาวิชานี้นับได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ได้รับความสนใจกันทั่วไป โดยเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาถึงพลังต่าง ๆ ที่มีผลต่อรัฐบาลและการเมือง เช่น อำนาจทางศิลธรรม เศรษฐกิจสังคม เป็นต้น และพลังอำนาจเหล่านี้ จะช่วยให้เข้าใจถึงการดำเนินงานทางการเมืองและลักษณะแห่งปรากฎการณ์ทางการเมือง สาขานี้ครอบคลุมถึงการศึกษาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ องค์การ และวิธีการต่าง ๆ ของพรรคการเมือง บทบาทของกลุ่มอิทธิพล การวัดและการใช้มติมหาชน การวิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อ และคำที่สือความหมายทางการเมือง ประโยชน์ของวิชานี้คือช่วยในการวิเคราะห์ทางการเมือง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมือง
3. กฎหมายที่เกี่ยวกับสาธารณะหรือกฎหมายมหาชน
การศึกษารัฐศาสตร์ในสาขากฎหมายมหาชน นับได้ว่ามีพัฒนาการความเป็น มาอันยาวนาน กระทั่งกล่าวได้ว่ากฎหมายมหาชนเป็นองค์ประกอบที่เก่าแก่ที่สุดของรัฐศาสตร์ ในอดีตกฎหมายมหาชนศึกษาเกี่ยวกับอำนาจและขอบเขตแห่งอำนาจของรัฐบาลการควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยรัฐบาล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคลกัลรัฐบาล เช่น การศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เป็นต้น ส่วนปัจจุบันกฎหมายมหาชนได้หันมาศึกษาถึงปกากฎการณ์ทางกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับการเมืองการปกครอง เช่น แนวความคิดต่าง ๆ ที่เน้นในกฎหมายรัฐธรรมนูญ การกำหนดและตีความในข้อบัญญัติเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานของรัฐบาล กฎหมายปกครอง ตลอดจนการศึกษาในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กระบวนการตุลาการกล่าวเช่นนี้ นักศึกษาจะเห็นภาพได้ว่า วิชารัฐศาสตร์จะเริ่มต้นด้วยการศึกษาเกี่ยวกับหรือสัมพันธ์กัยกฎหมายมหาชนอย่างแยกไม่ออก เนื่องจากกิจกรรมเกือบทุกอย่างของรัฐบาลย่อมมีความเกี่ยวพันกับกฎหมายอยู่เสมอ
4. รัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ นับได้ว่าเป็นสาขาหรือแขนงใหม่ของวิชารัฐศาสตร์ เนื่องจากการที่รัฐบาลมีขอบเขตการทำงานหรือการบริหารงาน ที่ต้องนำเอากฎหมายและนโยบาลการตัดสินใจไปสู้การปฏิบัติที่กว้างขวางมากขึ้นนอกจากนี้ ยังเป็นความสำคัญที่จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ ในการจัดองค์การและการบริหารงาน โดยมุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ในปัจจุบัน การศึกษารัฐประศาสตร์มีความสัมพันธ์กับรัฐศาสตร์และประกอบไปด้วยการศึกษาที่ยึดหลักประสิทธิภาพในการบริหาร ความเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง นโยบาย และการบริหาร มนุษย์สัมพันธ์ ภาวะผู้นำ องค์การสาธารณะ ระบบราชการ ทฤษฎีองค์การ รัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ พัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้งเทคนิคตลอดจนวิธีดำเนินการวิจัยทางการปฏิบัติการใหม่ ๆ เป็นต้น
5.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการฑูต การเมืองระหว่างประเทศกฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
การศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ได้รับความสนใจอย่างมาก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งก่อนสงครามโลกครั้งดังกล่าว มิได้ถือกันว่าวิชานี้เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ โดยต่อมาได้รับความนิยมมากขึ้นในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระยะหลังมีหลายสาขาที่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาทิเช่น การฑูต การเมืองระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศนโยบายต่างประเทศ ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์และความรู้ของวิชาต่าง ๆ ในสาขาสังคมศาสตร์ด้วย เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากร เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นต้น
6.รัฐบาลเปรียบเทียบ
สาขาวิชานี้นับได้ว่าเป็นสาขาวิชาที่เก่าแก่ที่สุดสาขาหนึ่ง พอ ๆ กับวิชาทฤษฎีการเมือง ดูได้จากการศึกษาสังเกตลักษณะของรัฐบาลต่าง ๆ ของอริสโตเติ้ลในสมัยโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษารัฐบาลเปรียบเทียบเป็นครั้งแรกของโลก สาระสำคัญของวิชานี้คือการสำรวจศึกษาระบบ รัฐบาลและการเมืองของประเทศต่าง ๆ ในนานาทวีป
7. สภา (Legislature) และการออกกฎหมาย (Legislation)
8. รัฐบาล และการธุรกิจ
โรดี และคณะ (Rodee and Others 1983, 7-15) กล่าวว่า นับเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปี ที่วิชารัฐศาสตร์ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับรัฐในเรื่องการกำเกิดรัฐ การตัดสินความ ข้อจำกัดอำนาจหน้าที่ กระบวนการและกระบวนการวิธีเหมาะสมในการศึกษา แต่กระนั้น นักรัฐศาสตร์ก็ยังไม่อาจหาข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับการจำแนกแยกย่อยขอบเขตของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ที่สมบูรณ์และถูกต้องเพียงพอ (complete and sufficiently exact)
โรดี และคณะ (Rodee and Others 1983, 7-15) ได้จำแนกขอบเขตการศึกษารัฐศาสตร์ไว้ 12 สาขาด้วยกัน กล่าวคือ
1. ปรัชญาการเมือง (Political philosophy)
2. การตัดสินความและกระบวนการทางกฎหมาย (Judicial and legal process)
3. กระบวนการทางบริหาร (Executive process)
4. องค์การทางการบริหารและพฤติกรรม (Administrative organization and behavior)
5. การเมืองว่าด้วยการนิติบัญญัติ (Legislative politics)
6. พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ (Political parties and interest groups)
7. การออกเสียงและมติมหาชน (Voting and public opinion)
8. การกล่อมเกลาทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมือง (Political socialization and political culture)
9. การเมืองเปรียบเทียบ (Comparative politics)
10. การพัฒนาทางการเมือง (Political development)
11. การเมืองระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ (International politics and organization)
12. ทฤษฎีทางการเมืองและวิธีการศึกษา (Political theories and methodology
ประวัติความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์
รัฐศาสตร์นั้น กล่าวได้ว่ามีการพัฒนาก้าวหน้ามาจนเป็นวิชาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเองโดยเฉพาะ การกล่าวเช่นนี้ย่อมหมายถึงวิชารัฐศาสตร์ได้ผ่านขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ที่สืบสาวกลับไปถึงสมัยกรีกโบราณเมื่อประมาณ 300-500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
สมัยกรีกโบราณ (ancient Greek) ที่ถือเป็นแหล่งสืบค้นเรื่องราวการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองและรัฐดังกล่าว เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดนักปราชญ์ทางด้านการเมืองเรียกว่า นักปรัชญาการเมืองที่สำคัญของโลก ได้แก่ เพลโต (Plato , 427-347 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาทฤษฎีการเมืองและอริสโตเติล (Aristotle,384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ผู้ถือว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ตะวันตก
แนวความคิดที่สำคัญของนักปรัชญาการเมืองกรักโบราณทั้งเพลโตและอริสโตเติลนั้น มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างมนุษย์กับรัฐในแง่คิดปรัชญาการเมือง(political philosophy) ด้วยการมองปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น การแสวงหาความยุติธรรม และรูปแบบของการปกครองที่ดี โดยมีภารกิจหลักพื้นฐานหรือที่เรียกว่าเจตจำนงค์อันเป็นเป้าหมายทางการเมืองของรัฐและรัฐบาลคือการสร้างสรรชีวิตที่ดีแก่ประชาชนในรัฐ
ผลงานตามแนวคิดของเพลโต้ปรากฏในงานเขียนอันโด่งดังเรื่อง “อุตมรัฐ” หรือ “Republic” ได้กล่าวถึงรูปเบบการปกครองตามอุดมคติที่จะต้องปกครองด้วยนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้และคุณธรรมกล่าวคือ เป็นผู้ที่มีความรู้สูงและรักษาความยุติธรรม หรือที่เพลโต้เรียกว่า “ราชาปราชญ์ (Philosopher King) อุตมรัฐนั้นเองจะเป็นเครื่องมือที่แก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์และสถาบันทางการเมือง เ พลโต้เชื่อว่ามนุษย์จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อร่วมกันทำคุณงามความดี โดยหน้าที่สำคัญที่สุดของรัฐก็คือการส่งเสริมให้มนุษย์มีคุณธรรมความดี (virtue) และมีความสุข (happiness) และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่างรัฐจึงจำเป็นต้องมีกฏเกหมายและสถาบันทางการปกครอง กฎหมายมีไว้เพื่อให้บุคคลประกอบความดีละเว้นความชั่ว ส่วนสถาบันการปกครองนั้นมีไว้เพื่อเป็นส่วนส่งเสริมให้การใช้กฎหมายนั้นเป็นไปได้ รัฐในทัศนะของเพลโต้จึงเป้นผลที่สืบเนื่องมาจากความมาสมบูรณ์ของมนุษย์(imperfection of human nature) (อานนท์ อาภาภิรม 2545, 5)
อริสโตเดิ้ล ลูกศิษย์คนสำคัญที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเพลโต้ ผู้ได้ให้ฉายาวิชารัฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาหรือ “ศาสตร์สถาปัตยสมบูรณ์ลักษณ์” (Architectonic Science) นั้น ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์แสวงหารูปแบบการปกครองที่เหมาะสม จากรัฐบาลต่าง ๆ ที่ตนได้สังเกตการณ์ซึ่งแตกต่างกันไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และอุดมการณ์ทางการเมืองของแต่ละรัฐ รวมทั้งได้สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้จากนักปราชญ์รายอื่นและที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มการาช ผู้เป็นลูกศิษย์เอก
แนวความคิดสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของอริสโตเติ้ลปรากฎในหนังสือชื่อ “การเมือง” หรือ “Politics” โดยกล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเป็นอำนาจสูงสุด (Ulitimate Sovereign) มาควบคุมมนุษย์ เนื่องจากอริสโตเติ้ลเชื่อว่ามนุษย์ในสภาพธรรมชาติไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และความต้องการของมนุษย์จะไม่อาบรรลุได้เลยอันหมายความว่าชีวิตมนุย์ไม่อาจสมบูรณ์ได้หากมิได้อยู่ในนครรัฐ (อริสโตเติ้ลหมายถึงนครรัฐกรีก) และระบบการเมืองและมนุษย์จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Aristotle. The politics of Aristotle, ed.And trans. by Ernest Barker 1966 อ้างถึงในทินพันธ์ นาคะตะ 2541, 63-64) และกฎหมายหรือกฎหมายรัฐธรรมนูญเมื่อประกอบกับองค์การรัฐบาลแล้ว จะยังผลให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเสมอภาคทั้งในด้านกฎหมายและศีลธรรม ความคิดทางการเมืองในยุคสมัยกรักโบราณที่มุ่งแสวงหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเมืองและรูปเบบการเมืองการปกครองที่ดี มีความยุติธรรมที่สุด เพื่อเอื้อให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีภายในนครรัฐ ได้เป็นแก่นสารัตถะของปรัชญาความคิดทางการเมืองสมัยกรีกโบราณ โดยเฉพาะจากผลงานของเพลโตและอริสโตเติ้ล ดังกล่าว ได้กลายเป็นกรอบความคิดพื้นฐานของการเมือง อันเป็นหัวใจของวิชารัฐศาสตร์ (วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน 2544, 9) สืบต่อเนื่องมากระทั่งปัจจุบัน และได้ส่งผลให้การศึกษาทางรัฐศาสตร์เติบโตขึ้นมาเป็นลำดับ และท้าทายให้นักคิดนักปราชญ์ทางการเมืองในยุคต่อมา เกิดความสนใจศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และการเมืองที่แตกต่างมุมมองกันออกไป ตัวอย่างเช่น นักปราชญ์กลุ่มสตอยอิกส์ (Stoic Philosophist) ในยุคโรมันตอนต้น มีทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของเพลโตและอริสโตเติ้ลที่ว่าชีวิตที่ดีของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ภายใต้นครรัฐ ซึ่งเป็นการผูกเงื่อนไขในเรื่องความจำเป็นของการมีรัฐและรูปแบบของรัฐไว้กับการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ในรัฐ ในขณะที่นักปราชญ์กลุ่มดังกล่าวเห็นว่า ชีวิตที่ดีของมนุษย์นั้นแท้จริงก็คือความเป็นปัจเจกชนที่ไม่ต้องผูกพันธ์อยู่กับรัฐ เนื่องเพราะรัฐและอำนาจการเมือง เป็นสิ่งที่มนุษย์ สูญเสียเสรีภาพที่มีมาพร้อมกับความเป็นปัจเจกบุคคล รวมทั้งความเสมอภาคในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เป็นต้น
ในช่วงระหว่าง 200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงช่วงราวศตวรรษที่ 4 หรือเรียกว่า ยุคโรมัน วิทยาการความรู้ไม่เพียงเฉพาะรัฐศาสตร์ในเชิงปรัชญา และวิชาการทางสังคมศาสตร์อื่นถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นตกอยู่ในภาวะความชะงักงัน ทั่งนี้ด้วยเพราะชาวโรมันไม่ใคร่จะใส่ใจแนวคิดเรื่องปรัชญาทางการเมืองสักเท่าใดนัก แต่ให้ความสำคัญกับงานทางด้านสถาปัตยกรรมหรือเทคนิคการก่อสร้างและงานด้านการเกษตรกรรมเพาะปลูกพืช ในช่วงนี้ องค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาจากยุคกรีกโบราณจึงไม่ได้รับการกล่าวถึงแต่อย่างใด แต่กระนั้น จักรวรรดิโรมันยังนับว่าได้สร้างคุณูปการอันเป็นมรดกแก่วิชารัฐศาสตร์สืบต่อมาได้แก่ หลักกฎหมายหรือหลักนิติศาสตร์ หลักการบริหารราชการหรือการบริหารรัฐกิจตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติ และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ (Natural Rights) ของซิเซโร (Cicero) หลักการและแนวคิดเหล่านี้ จรูญ สุภาพ (2522, 3) อธิบายว่า มีรากฐานสำคัญมาจากปรัชญาสตอยอิค (stoicism) ซึ่งถือว่ามนุษย์ทั่งปวงมีความเสมอภาค ภราดรภาพและมีที่มาจากพระเจ้า รวมทั้งการเคารพในคุณค่าของปัจเจกชน (individual) โดยไม่คำนึงถึงฐานทางสังคมของบุคคล อันถือได้ว่าเป็นต้นธารปรัชญาและหลักการการปกครองแบบประชาธิปไตยตะวันตก
ในยุคกลางหรือยุคสมัยที่คริสตจักร (the Church of Christ) เรืองอำนาจก่อนสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือที่เรียกกันว่า ยุคกลาง อยู่ในช่วงนับจากยุคหลังจักรวรรดิโรมันถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยประมาณ การศึกษาเรื่องรัฐมีความสำคัญลดลงจนเรียกว่ได้เป็นยุคมืดของการศึกษารัฐศาสตร์ เนื่องจากในยุคนี้อิทธิพลทางการปกครองถูกครอบงำโดยอำนาจของศาสนจักร (the Mediaval Hegemony of the Church) หรือการมีอิทธิพลของศาสนจักรหรือผู้นำทางศาสนาในการสถาปนาและถอดถอนกษัตริย์ในยุคกลาง และการเข้ามามีบทบาทบงการนฑโยบายของรัฐรวมถึงการวินิจฉัยข้อโต้แย้งทางการเมืองของศาสนจักรซึ่งเป็นผลมาจากการครอบงำทางความคิดเรื่องการได้มีซึ่งอำนาจการปกครองจากพระผู้เป็นเจ้าของศาสนจักร ดังปรากฎแนวคิดของนักบุญหลายท่านเช่น “ The City of God” ของเซนต์ออกัสติน (St.Augustine) ผลงานของเซนต์โธมัส อะไควนัส (Aquinas) เป็นต้น กระทั่งทฤษฎีการเมือง (political theory) ได้กลายสภาพมาเป็นสาขาหนึ่งของศาสนศาสตร์ (Theology) อย่างไรก็ดี เบอร์นอล (J.D. Bernal 1971, 270)ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้ปรัชญาทางรัฐศาสตร์และตกต่ำในสมัยนี้ ภาระหน้าที่ในการพัฒนาความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อันรวมไปถึงงานทางวิชาการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาความรู้ทางการเมืองของสมัยกรีกโบราณ ยังคงได้รับการสืบทอดรักษาจนกระทั่งมาเป็นมรดกของโลกในปัจจุบันโดยพวกนักปราชญ์หรือปัญญาชนชาวอาหรับ โดยอาศัยการแปลต้นฉบับมาเป็นภาษาอาหรับที่แพร่หลายในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8-11 ก่อนที่จะกลับมาฟื้นฟูในยุโรปอีกครั้งหนึ่งในยุคเรเนอซองค์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
เป็นที่น่าสนใจกล่าวถึงว่าศาสนจักรสมัยนั้นเข้ามามาบทบาทในปริมณฑลทางการเมืองการปกครองทางโลกได้อย่างไร ปัญหาข้อนี้พิจารณาได้จากผลงานเขียนของ อนุสรณ์ ลิ่มมณี (2542B, 12-14) ได้ว่า การเติบโตของคริสตศาสนจักรได้แยกรัฐออกจากสังคม จากเดิมเคยเป็นมาในลักษณะคล้ายนครรัฐของกรีกโบราณที่เป็นแบบรัฐสังคมที่ได้กล่าวไปแล้ว และเส้นแบ่งระหว่างรัฐกับสังคมได้ขยายกว้างมากขึ้นในยุคจักรวรรดิโรมันที่รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมเป็นไปอย่างเสรี บุคคลมีสิทธิเสรีภาพและเริ่มคิดเรื่องส่วนตัว (private) หรือกล่าวได้ว่ามีความเป็นปัจเจกชนนิยมมากขึ้น ในขณะเดียวกับที่ความคิดทางศาสนาได้กันคนออกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม อันเป็นเรื่องที่จะต้องเกี่ยวกับรัฐ คนเริ่มมีโลกส่วนตัวที่อสวงหาศาสนามาเป็นเครื่องยืดเหนี่ยวมากขึ้น กระทั่งอำนาจของคริสตจักรได้แทรกซึมไปมีอิทธิพลเหนือจิตใจของผู้คนในสังคม และเริ่มแผ่อิทธิพลอำนาจเชิงปกครองไปยังประชาชนโดยตรง โดยอาศัยระยะเวลาหลายร้อยปีผ่านพีธีกรรมและการตีความหลักการทางศาสนาและการหล่อหลอมกล่อมเกลาความเชื่อทางศาสนาที่คาบเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง รวมทั้งการเสนอแนวคิดทฤษฎีทั้งหลายที่เกี่ยวกับอำนาจของศาสนจักรและอำนาจสองฝ่าย (Theories of Dyarchy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิสองอำนาจ (Doctrine of Two Powers)ในช่วงศตวรรษที่ 1 ถึงศตวรรษที่ 5 ลัทธิเกี่ยวกับสภาพแห่งจุดมุ่งหมายทางโลก (Doctrine of the Nature of Temporal End)ที่ได้เสนอไว้ในช่วงศตวรรษที่ 13 การยกเลิกอำนาจของฝ่ายอาณาจักรในสมัยสันตปาปา Boniface ที่ 8 ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 14
แต่อย่างไรก็ดี ศาสนาจักรก็มิได้มีบทบาทในการเมืองการปกครองรัฐและสังคมแต่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายอาณาจักรที่เป็นผู้ปกครองตามระบบฟิวดัล (Feudalism) ก็ยังมีอำนาจส่วนหนึ่งในการปกครองอาณาจักร และได้พัฒนาความเข้มแข็งของกองกำลังทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจุดประสงค์แรกเริ่มในการคานอำนาจ กระทั่งต่อมาได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่วนสำคัญในการริดลอดลดทอนบทบาทและอำนาจของฝ่ายศาสนจักรต่อการแทรกแซงสังคมให้ลดลง นอกเหนือไปจากปัจจัยอีกอย่างน้อย 2 ประการซึ่งได้แก่ การเติบโตขึ้นของแนวคิดเชิงปัจเจกชนนิยมและระบบการผลิตแบบทุนนิยม รวมถึงการตีความศาสนาในแนวทางใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของปัจเจกชนและไม่จัดกับการแสวงหากำไรจากการผลิตของชนชั้นกลาง (bourgeoisie) และการปฏิรูปศาสนาในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 จากการเรียกร้องของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง (Martin Luther King) นักบวชในคริสตจักรชาวเยอรมัน
ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (the Age of Renaissance) ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศอิตาลีในราวต้นศตวรรษที่ 14 จารการที่บรรดาปัญญาชนในยุคนั้นได้หันกลับมาให้ความสนใจผลงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการเมืองการปกครอง อุดมการณ์แห่งรัฐและสังคมของกรีกโบราณและโรมันอย่างเอาจริงเอาจัง ความสนใจนี้ได้แพร่หลายออกไปสู่ประเทศทางยุโรปตอนบน ในลักษณะของขบวนการทางศิลปะและวิชาการที่อาศัยรากฐานความรู้ของกรีกโบราณ อาทิ ศิลปกรรม วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ปรัชญา การเมืองการศึกษาและการศาสนา ซึ่งได้ยังผลต่อเนื่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดความเชื่อในหมู่ประชากร เบิร์น (Edward Burns 1963, 384) กล่าวว่า ผู้คน ในสังคมยุโรปสมัยนั้นเริ่มมีโลกทัศน์ที่กว้างขวางยึดถือความเชื่อในเรื่องในของการแสวงหาความสุขส่วนบุคคลหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความเป็นปัจเจกชนนิวม (Individualism) มากขึ้น พร้อม ๆ ไปกับการเติบโตของระบบการผลิตแบบทุนนิยม ซึ่งเกื้อหนุนกับความคิดแบบปัจเจกชนนิยมดังกล่าว ประกอบกับการถูกลดทอนลงของอำนาจพระสังฆราช (pope) และจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการปฏิรูป(the Reformation) ภายใต้อำราจการปกครองและอำนาจทางการเมืองที่เข้มแข็งของกษัตริย์ที่ได้เติบโตถ่วงดุลอำนาจใหม่ระหว่างอาณาจักรและศาสนจักรในคาบเวลาต่อมา การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงได้หวนกลับมามีความสำคัญอีกครั้ง ด้วยการนำองค์ความรู้และผลวารของนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ในสมัยกรีกโบราณและโรมันมาปัดฝุ่นอีกครั้งดังกล่าว
วิวัฒนาการของรัฐศาสตร์ได้เดินทางเรื่อยมากระทั่งถึง ยุคใหม่ ซึ่งนับเริ่มตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศาสตราจารย์ ดร.บรรพต วีระสัย และอวยชัย ชบา ได้อธิบายว่า ในยุคนี้ วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์มักไม่สนใจในเรื่องมาตรฐานของความดีหรือความชั่วความควรหรือไม่ควรในทางการเมือง แต่หันไปให้ความสนใจกับการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขี้นเป็นกรณี ๆ ไปหรือที่เรียกกันว่า การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioralism ดู “BEHAVIORALISM” ) ด้วยการให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูลที่ได้จาการรวบรวมเชิงประจักษ์และผ่านกระบวนการแสวงหาความรู้ที่อิงแนวคิด ทฤษฎีหรือข้อสรุปทั่วไป(Generalization) มากกว่าในยุคแรกที่เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาทางการเมือง (บรรพต วีระสัย และอวยชัย ชบา 2525, 16)โดยมุ่งพิจารณาเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือการเสนอแนะรูปแบบการประพฤติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น 16 นี่เป็นสิ่งที่อธิบายให้เห็นได้ว่าเหตุใดการศึกษารัฐศาสตร์โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมุ่งเน้นไปในเรื่องของการศึกษาปรากฎการณ์และพฤติกรรมทางเมือง
การลำดับวิวัฒนาการของการศึกษาหรือความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น เราอาจสรุปเป็นหัวข้อการแบ่งวิวัฒนาการของการศึกษารัฐศาสตร์ออกเป็น 4 สมัยด้วยกัน ดังที่ ทินพันธ์ นาคะตะ (2541, 14-17) ได้เสนอดังนี้
1. สมัยที่ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาทางศีลธรรมทั่วไป
ในสมัยนี้ นับเนื่องจากสมัยกรีกโบราณจนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นเวลายาว นานประมาณ 2,500 ปี ลักษณะสำคัญของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคนี้คือวิชาการเมืองยังคงรวมศึกษาอยู่ในการศึกษาเกี่ยวกับสังคมทั่วไป จึงยังไม่ปรากฎสาขาวิชาย่อยใด ๆ ของศาสตร์ว่าด้วยดารเมืองเช่นในสมัยปัจจุบัน การศึกษาได้เน้นในเรืองความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสังคมตะวันตก โดยในสายตัวของนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาแบบเน้นความเป็นศาสตร์ รัฐศาสตร์ในยุคนี้มิได้มีความเป็นศาสตร์อันแท้จริงและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื้อหาสาระของวิชาส่วนใหญ่จึงประกอบด้วยหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กันน้อย ขาดแนวคิดทางทฤษฎีที่ชัดเจนและขาดระเบียบวิธีการศึกษาที่รัดกุม โดยมีลักษณะเป็นการรวบรวมการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสังคมในสมัยหนึ่ง ๆ ซึ่งไม่ค่อยซ้ำแบบกันมาศึกษาเท่านั้น
2. สมัยการศึกษาในเรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ
การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้กล่าวได้ว่าเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นวิชาการเมืองที่มีลักษณะเป็นศาสตร์ โดยมีนักคิดสำคัญชื่อศาสตราจารย์เบอร์เกส (J. W.Burgess) ร่วมกับนักคิดหลายท่านเป็นผู้นำแนวทางการศึกษาแบบปฏิฐานนิยม (Positivism)ของเจเรมี่ เบนแธม (Jeremy Bentham) และออสติน แรนนี่ (Austin Ranney) มาปรับใช้ในการศึกษาความเป็นไปไม่เกี่ยวกับรัฐ นับจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มปรากฎตำราต่าง ๆ ทางรัฐศาสตร์อย่างมากมายหลากหลาย โดยเน้นความสนใจศึกษาในเรื่องความก้าวหน้าของกฎหมาย ข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองแบบต่าง ๆ อำนาจที่เป็นทางการของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาล ประกอบควบคู่กับการศึกษาเรื่องปรัชญาการเมืองโบราณเป้าหมายของการปกครองและเป้าหมายของรัฐ และเน้นศึกษาความเป็นจริงทางการเมืองต่าง ๆ มากขึ้น
3. สมัยการศึกษารัฐศาสตร์เชิงอำนาจ หรือระยะที่สาม
การศึกษาการเมืองในยุคนี้ได้เน้นความสนใจศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ต่อสู้แข่งขันกันเพื่อมีอำนาจทางการเมือง จวบจนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือราวปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ความประการนี้พิจารณาจากแนวคิดของนักวิชาการสำคัญบางท่านได้แก่ เบนท์ลี่ (Bently) และทรูแมน (Truman) ที่เห็นว่ากิจกรรมทางการเมืองเป็นปรากฎการณ์ของกลุ่มหรือการเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ หรือเป็นการศึกษาที่เน้นในเรื่องกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งเป็นความพยายามอธิบายว่าการเมืองเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เพื่อมีอิทธิพลหรืออำนาจเหนือการปกครองและนโยบายสาธารณะ อันเป็นการขยายขอบเขตของการศึกษาให้กว้างขวางมากขึ้นไปกว่าการยึดหลักกฎหมายและสถาบันที่มีอยู่ในสังคม ในระยะนี้เอง การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ได้ประกอบไปด้วยเรื่องปรัชญาทางการเมือง กฎหมายมหาชน การปกครองภายในประเทศรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ การปกครองเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศความก้าวหน้าเช่นนี้ส่งผลประการสำคัญต่อการศึกษารัฐศาสตร์ในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งมีทฤษฎีต่าง ๆ สำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเน้นในการปฏิบัติที่สนใจศึกษาปัญหาต่าง ๆ ของสังคม
4. สมัยการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioralism)
เป็นยุคที่การศึกษารัฐศาสตร์มีพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวคือ เป็นการศึกษารัฐศาสตร์โดยหันมาให้ความสนใจอธิบายสาเหตุของปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ มีการนำเทคนิคในเชิงศาสตร์(Science) อย่างมีแนวคิดและทฤษฎีเป็นกรอบกำหนดความสัมพันธ์ของสิ่งที่ศึกษามาศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของตัวบุคคล เช่น การศึกษาทัศนคติ สิ่งจูงใจ ค่านิยมแทนการศึกษาในรัฐศาสตร์ในเชิงโครงสร้างและสถาบัน ซึ่งมีผลทำให้วิชาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นศาสตร์เชิงวิเคราะห์มากขึ้น การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์นี้ กล่าวได้ว่าเป็นแนวทางการวิเคราะห์ที่แตกต่างไปจากแนวการศึกษาในรัฐศาสตร์แบบเก่า (Traditional Method) ซึ่งเป็นการใช้แนวทางการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ด้วยปรัชญาทางการเมืองคลาสสิค อันจัดว่าเป็นวิธีการที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด และมีลักษณะสำคัญเน้นในการประเมินค่าทางการเมือง การวินิจฉัยสถาบันหรือวิธีดำเนินการทางการเมืองว่าอย่างไรดี อย่างไรเลว อย่างไรจึงจะยุติธรรม และนำไปสู่การมีชีวิตที่ดีของประชาชน 22 ด้วยการอนุมาน (deductive) มากกว่าการพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผล (rationlity) เช่นที่ได้กล่าวถึงแนวความคิดของเพลโต้และอริสโตเติ้ลเป็นตัวอย่างการใช้รูปแบบการประเมินหรือการวินิจฉัยคุณค่าด้วยแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งจากนักวิชาการรุ่นใหม่ที่แสวงหาความเป็นสากลและความน่าเชื่อถือในความรู้ของรัฐศาสตร์
ด้วยเหตุนี้ในปี 1920 นักรัฐศาสตร์อเมริกันบุคคลสำคัญซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ชื่อชาร์ลส์ เมอร์เรี่ยม (Charles E.Merrian) จึงได้นำเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ทางการเมืองแบบพฤติกรรมขึ้น โดยนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแสวงหาความรู้สำหรับทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะ พฤติกรรมทางการเมืองของปัจเจกบุคคลอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แบบที่ไม่เคร่งครัดมากนัก เพียงแต่มีลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantification) ที่เป็นระบบและใช้การสังเกตการณ์ ไปจนถึงการใช้หลักการและสมมติฐานทางการวิจัยอย่างรัดกุมสมบูรณ์แบบมากกว่าการเป็นประเด็นทางปรัชญาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัมนาข้อสรุปทั่วไปที่สร้างขึ้นจากข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Generalization) และสร้างทฤษฎีที่เป็นระบบ (Systematic Theory) หรือมีทฤษฎีไว้เป็นแนวทางที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ นำไปอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง อันได้รับการกล่าวถึงว่าจะเป็นผลดีต่อวิชารัฐศาสตร์เป็นอันมาก ดังความเห็นของอีสตัน (David Eastion) นักรัฐศาสตร์ชื่อก้อง เจ้าของแนวคิดทฤษฎีระบบ ในสารานุกรม Intermational Encyclopedia of Social Science (1968) และยังช่วยให้นักรัฐศาสตร์สามารถมุ่งความสนใจศึกษาปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีความสำคัญต่อสังคม และศึกษาได้ง่ายขึ้น เช่น การศึกษาพฤติกรรมในการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน เป็นต้น
การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมมีความหมายเช่นไร จำเป็นเพียงไหนและมีลักษณะอย่างไร จะได้กล่าวถึงไว้โดยสังเขปเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้ศึกษาดังนี้
การศึกษารัฐศาสตร์ในรูปแบบพฤติกรรมศาสตร์นั้นกล่าวได้ว่าเริ่มต้นกล่าวถึงกันนับแต่ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา โดยอิทธิพลของแนวคิดปฏิฐานนิยมเชิงตรรก (Logical Positivism) ที่ได้ฝังรากลึกลงในการศึกษาวิทยาการทางสังคมศาสตร์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ช่วยให้เกิดการวางกรอบความคิดทฤษฎีและขอบเขตของการศึกษาสาขาต่าง ๆ รวมทั้งรัฐศาสตร์ที่ชัดเจนสอดคล้องกับความคิดและสิ่งที่ศึกษาในแต่ละเรื่อง หรือช่วยสร้างรูปแบบวิธีการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับกันถึงความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ 23 อันส่งผลให้การศึกษาในแบบปรัชญาและแนวนิติสถาบัน ซึ่งไม่มีรูปแบบและไม่สามารถพิสูจน์โดยหลักทางตรรกศาสตร์ได้ถูกกีดกันออกไปจากวงการวิชาการรัฐศาสตร์ในสังคมตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งนับจาก ค.ศ. 1950 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสนใจอย่างเข้มข้นและความพยายามในการผลักดันให้การศึกษารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาที่อิงวิทยาศาสตร์ ดังกล่าวได้เปิดทางให้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) เข้ามามีอิทธิพลของการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลต่อการศึกษาและวิเคราะห์การเมือง (Gabriel A. Almond 1990, chapter 2) ที่ยังได้รับความนิยมมาจนปัจจุบัน
สมัยกรีกโบราณ (ancient Greek) ที่ถือเป็นแหล่งสืบค้นเรื่องราวการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองและรัฐดังกล่าว เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดนักปราชญ์ทางด้านการเมืองเรียกว่า นักปรัชญาการเมืองที่สำคัญของโลก ได้แก่ เพลโต (Plato , 427-347 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาทฤษฎีการเมืองและอริสโตเติล (Aristotle,384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ผู้ถือว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์ตะวันตก
แนวความคิดที่สำคัญของนักปรัชญาการเมืองกรักโบราณทั้งเพลโตและอริสโตเติลนั้น มุ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างมนุษย์กับรัฐในแง่คิดปรัชญาการเมือง(political philosophy) ด้วยการมองปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น การแสวงหาความยุติธรรม และรูปแบบของการปกครองที่ดี โดยมีภารกิจหลักพื้นฐานหรือที่เรียกว่าเจตจำนงค์อันเป็นเป้าหมายทางการเมืองของรัฐและรัฐบาลคือการสร้างสรรชีวิตที่ดีแก่ประชาชนในรัฐ
ผลงานตามแนวคิดของเพลโต้ปรากฏในงานเขียนอันโด่งดังเรื่อง “อุตมรัฐ” หรือ “Republic” ได้กล่าวถึงรูปเบบการปกครองตามอุดมคติที่จะต้องปกครองด้วยนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้และคุณธรรมกล่าวคือ เป็นผู้ที่มีความรู้สูงและรักษาความยุติธรรม หรือที่เพลโต้เรียกว่า “ราชาปราชญ์ (Philosopher King) อุตมรัฐนั้นเองจะเป็นเครื่องมือที่แก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์และสถาบันทางการเมือง เ พลโต้เชื่อว่ามนุษย์จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อร่วมกันทำคุณงามความดี โดยหน้าที่สำคัญที่สุดของรัฐก็คือการส่งเสริมให้มนุษย์มีคุณธรรมความดี (virtue) และมีความสุข (happiness) และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่างรัฐจึงจำเป็นต้องมีกฏเกหมายและสถาบันทางการปกครอง กฎหมายมีไว้เพื่อให้บุคคลประกอบความดีละเว้นความชั่ว ส่วนสถาบันการปกครองนั้นมีไว้เพื่อเป็นส่วนส่งเสริมให้การใช้กฎหมายนั้นเป็นไปได้ รัฐในทัศนะของเพลโต้จึงเป้นผลที่สืบเนื่องมาจากความมาสมบูรณ์ของมนุษย์(imperfection of human nature) (อานนท์ อาภาภิรม 2545, 5)
อริสโตเดิ้ล ลูกศิษย์คนสำคัญที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเพลโต้ ผู้ได้ให้ฉายาวิชารัฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาหรือ “ศาสตร์สถาปัตยสมบูรณ์ลักษณ์” (Architectonic Science) นั้น ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์แสวงหารูปแบบการปกครองที่เหมาะสม จากรัฐบาลต่าง ๆ ที่ตนได้สังเกตการณ์ซึ่งแตกต่างกันไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และอุดมการณ์ทางการเมืองของแต่ละรัฐ รวมทั้งได้สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้จากนักปราชญ์รายอื่นและที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มการาช ผู้เป็นลูกศิษย์เอก
แนวความคิดสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของอริสโตเติ้ลปรากฎในหนังสือชื่อ “การเมือง” หรือ “Politics” โดยกล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเป็นอำนาจสูงสุด (Ulitimate Sovereign) มาควบคุมมนุษย์ เนื่องจากอริสโตเติ้ลเชื่อว่ามนุษย์ในสภาพธรรมชาติไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และความต้องการของมนุษย์จะไม่อาบรรลุได้เลยอันหมายความว่าชีวิตมนุย์ไม่อาจสมบูรณ์ได้หากมิได้อยู่ในนครรัฐ (อริสโตเติ้ลหมายถึงนครรัฐกรีก) และระบบการเมืองและมนุษย์จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Aristotle. The politics of Aristotle, ed.And trans. by Ernest Barker 1966 อ้างถึงในทินพันธ์ นาคะตะ 2541, 63-64) และกฎหมายหรือกฎหมายรัฐธรรมนูญเมื่อประกอบกับองค์การรัฐบาลแล้ว จะยังผลให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเสมอภาคทั้งในด้านกฎหมายและศีลธรรม ความคิดทางการเมืองในยุคสมัยกรักโบราณที่มุ่งแสวงหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเมืองและรูปเบบการเมืองการปกครองที่ดี มีความยุติธรรมที่สุด เพื่อเอื้อให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีภายในนครรัฐ ได้เป็นแก่นสารัตถะของปรัชญาความคิดทางการเมืองสมัยกรีกโบราณ โดยเฉพาะจากผลงานของเพลโตและอริสโตเติ้ล ดังกล่าว ได้กลายเป็นกรอบความคิดพื้นฐานของการเมือง อันเป็นหัวใจของวิชารัฐศาสตร์ (วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน 2544, 9) สืบต่อเนื่องมากระทั่งปัจจุบัน และได้ส่งผลให้การศึกษาทางรัฐศาสตร์เติบโตขึ้นมาเป็นลำดับ และท้าทายให้นักคิดนักปราชญ์ทางการเมืองในยุคต่อมา เกิดความสนใจศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และการเมืองที่แตกต่างมุมมองกันออกไป ตัวอย่างเช่น นักปราชญ์กลุ่มสตอยอิกส์ (Stoic Philosophist) ในยุคโรมันตอนต้น มีทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของเพลโตและอริสโตเติ้ลที่ว่าชีวิตที่ดีของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ภายใต้นครรัฐ ซึ่งเป็นการผูกเงื่อนไขในเรื่องความจำเป็นของการมีรัฐและรูปแบบของรัฐไว้กับการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ในรัฐ ในขณะที่นักปราชญ์กลุ่มดังกล่าวเห็นว่า ชีวิตที่ดีของมนุษย์นั้นแท้จริงก็คือความเป็นปัจเจกชนที่ไม่ต้องผูกพันธ์อยู่กับรัฐ เนื่องเพราะรัฐและอำนาจการเมือง เป็นสิ่งที่มนุษย์ สูญเสียเสรีภาพที่มีมาพร้อมกับความเป็นปัจเจกบุคคล รวมทั้งความเสมอภาคในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เป็นต้น
ในช่วงระหว่าง 200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงช่วงราวศตวรรษที่ 4 หรือเรียกว่า ยุคโรมัน วิทยาการความรู้ไม่เพียงเฉพาะรัฐศาสตร์ในเชิงปรัชญา และวิชาการทางสังคมศาสตร์อื่นถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นตกอยู่ในภาวะความชะงักงัน ทั่งนี้ด้วยเพราะชาวโรมันไม่ใคร่จะใส่ใจแนวคิดเรื่องปรัชญาทางการเมืองสักเท่าใดนัก แต่ให้ความสำคัญกับงานทางด้านสถาปัตยกรรมหรือเทคนิคการก่อสร้างและงานด้านการเกษตรกรรมเพาะปลูกพืช ในช่วงนี้ องค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาจากยุคกรีกโบราณจึงไม่ได้รับการกล่าวถึงแต่อย่างใด แต่กระนั้น จักรวรรดิโรมันยังนับว่าได้สร้างคุณูปการอันเป็นมรดกแก่วิชารัฐศาสตร์สืบต่อมาได้แก่ หลักกฎหมายหรือหลักนิติศาสตร์ หลักการบริหารราชการหรือการบริหารรัฐกิจตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติ และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ (Natural Rights) ของซิเซโร (Cicero) หลักการและแนวคิดเหล่านี้ จรูญ สุภาพ (2522, 3) อธิบายว่า มีรากฐานสำคัญมาจากปรัชญาสตอยอิค (stoicism) ซึ่งถือว่ามนุษย์ทั่งปวงมีความเสมอภาค ภราดรภาพและมีที่มาจากพระเจ้า รวมทั้งการเคารพในคุณค่าของปัจเจกชน (individual) โดยไม่คำนึงถึงฐานทางสังคมของบุคคล อันถือได้ว่าเป็นต้นธารปรัชญาและหลักการการปกครองแบบประชาธิปไตยตะวันตก
ในยุคกลางหรือยุคสมัยที่คริสตจักร (the Church of Christ) เรืองอำนาจก่อนสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือที่เรียกกันว่า ยุคกลาง อยู่ในช่วงนับจากยุคหลังจักรวรรดิโรมันถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยประมาณ การศึกษาเรื่องรัฐมีความสำคัญลดลงจนเรียกว่ได้เป็นยุคมืดของการศึกษารัฐศาสตร์ เนื่องจากในยุคนี้อิทธิพลทางการปกครองถูกครอบงำโดยอำนาจของศาสนจักร (the Mediaval Hegemony of the Church) หรือการมีอิทธิพลของศาสนจักรหรือผู้นำทางศาสนาในการสถาปนาและถอดถอนกษัตริย์ในยุคกลาง และการเข้ามามีบทบาทบงการนฑโยบายของรัฐรวมถึงการวินิจฉัยข้อโต้แย้งทางการเมืองของศาสนจักรซึ่งเป็นผลมาจากการครอบงำทางความคิดเรื่องการได้มีซึ่งอำนาจการปกครองจากพระผู้เป็นเจ้าของศาสนจักร ดังปรากฎแนวคิดของนักบุญหลายท่านเช่น “ The City of God” ของเซนต์ออกัสติน (St.Augustine) ผลงานของเซนต์โธมัส อะไควนัส (Aquinas) เป็นต้น กระทั่งทฤษฎีการเมือง (political theory) ได้กลายสภาพมาเป็นสาขาหนึ่งของศาสนศาสตร์ (Theology) อย่างไรก็ดี เบอร์นอล (J.D. Bernal 1971, 270)ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้ปรัชญาทางรัฐศาสตร์และตกต่ำในสมัยนี้ ภาระหน้าที่ในการพัฒนาความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อันรวมไปถึงงานทางวิชาการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาความรู้ทางการเมืองของสมัยกรีกโบราณ ยังคงได้รับการสืบทอดรักษาจนกระทั่งมาเป็นมรดกของโลกในปัจจุบันโดยพวกนักปราชญ์หรือปัญญาชนชาวอาหรับ โดยอาศัยการแปลต้นฉบับมาเป็นภาษาอาหรับที่แพร่หลายในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8-11 ก่อนที่จะกลับมาฟื้นฟูในยุโรปอีกครั้งหนึ่งในยุคเรเนอซองค์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
เป็นที่น่าสนใจกล่าวถึงว่าศาสนจักรสมัยนั้นเข้ามามาบทบาทในปริมณฑลทางการเมืองการปกครองทางโลกได้อย่างไร ปัญหาข้อนี้พิจารณาได้จากผลงานเขียนของ อนุสรณ์ ลิ่มมณี (2542B, 12-14) ได้ว่า การเติบโตของคริสตศาสนจักรได้แยกรัฐออกจากสังคม จากเดิมเคยเป็นมาในลักษณะคล้ายนครรัฐของกรีกโบราณที่เป็นแบบรัฐสังคมที่ได้กล่าวไปแล้ว และเส้นแบ่งระหว่างรัฐกับสังคมได้ขยายกว้างมากขึ้นในยุคจักรวรรดิโรมันที่รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมเป็นไปอย่างเสรี บุคคลมีสิทธิเสรีภาพและเริ่มคิดเรื่องส่วนตัว (private) หรือกล่าวได้ว่ามีความเป็นปัจเจกชนนิยมมากขึ้น ในขณะเดียวกับที่ความคิดทางศาสนาได้กันคนออกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม อันเป็นเรื่องที่จะต้องเกี่ยวกับรัฐ คนเริ่มมีโลกส่วนตัวที่อสวงหาศาสนามาเป็นเครื่องยืดเหนี่ยวมากขึ้น กระทั่งอำนาจของคริสตจักรได้แทรกซึมไปมีอิทธิพลเหนือจิตใจของผู้คนในสังคม และเริ่มแผ่อิทธิพลอำนาจเชิงปกครองไปยังประชาชนโดยตรง โดยอาศัยระยะเวลาหลายร้อยปีผ่านพีธีกรรมและการตีความหลักการทางศาสนาและการหล่อหลอมกล่อมเกลาความเชื่อทางศาสนาที่คาบเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง รวมทั้งการเสนอแนวคิดทฤษฎีทั้งหลายที่เกี่ยวกับอำนาจของศาสนจักรและอำนาจสองฝ่าย (Theories of Dyarchy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิสองอำนาจ (Doctrine of Two Powers)ในช่วงศตวรรษที่ 1 ถึงศตวรรษที่ 5 ลัทธิเกี่ยวกับสภาพแห่งจุดมุ่งหมายทางโลก (Doctrine of the Nature of Temporal End)ที่ได้เสนอไว้ในช่วงศตวรรษที่ 13 การยกเลิกอำนาจของฝ่ายอาณาจักรในสมัยสันตปาปา Boniface ที่ 8 ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 14
แต่อย่างไรก็ดี ศาสนาจักรก็มิได้มีบทบาทในการเมืองการปกครองรัฐและสังคมแต่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายอาณาจักรที่เป็นผู้ปกครองตามระบบฟิวดัล (Feudalism) ก็ยังมีอำนาจส่วนหนึ่งในการปกครองอาณาจักร และได้พัฒนาความเข้มแข็งของกองกำลังทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจุดประสงค์แรกเริ่มในการคานอำนาจ กระทั่งต่อมาได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่วนสำคัญในการริดลอดลดทอนบทบาทและอำนาจของฝ่ายศาสนจักรต่อการแทรกแซงสังคมให้ลดลง นอกเหนือไปจากปัจจัยอีกอย่างน้อย 2 ประการซึ่งได้แก่ การเติบโตขึ้นของแนวคิดเชิงปัจเจกชนนิยมและระบบการผลิตแบบทุนนิยม รวมถึงการตีความศาสนาในแนวทางใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของปัจเจกชนและไม่จัดกับการแสวงหากำไรจากการผลิตของชนชั้นกลาง (bourgeoisie) และการปฏิรูปศาสนาในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 จากการเรียกร้องของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง (Martin Luther King) นักบวชในคริสตจักรชาวเยอรมัน
ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (the Age of Renaissance) ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศอิตาลีในราวต้นศตวรรษที่ 14 จารการที่บรรดาปัญญาชนในยุคนั้นได้หันกลับมาให้ความสนใจผลงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการเมืองการปกครอง อุดมการณ์แห่งรัฐและสังคมของกรีกโบราณและโรมันอย่างเอาจริงเอาจัง ความสนใจนี้ได้แพร่หลายออกไปสู่ประเทศทางยุโรปตอนบน ในลักษณะของขบวนการทางศิลปะและวิชาการที่อาศัยรากฐานความรู้ของกรีกโบราณ อาทิ ศิลปกรรม วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ปรัชญา การเมืองการศึกษาและการศาสนา ซึ่งได้ยังผลต่อเนื่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดความเชื่อในหมู่ประชากร เบิร์น (Edward Burns 1963, 384) กล่าวว่า ผู้คน ในสังคมยุโรปสมัยนั้นเริ่มมีโลกทัศน์ที่กว้างขวางยึดถือความเชื่อในเรื่องในของการแสวงหาความสุขส่วนบุคคลหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความเป็นปัจเจกชนนิวม (Individualism) มากขึ้น พร้อม ๆ ไปกับการเติบโตของระบบการผลิตแบบทุนนิยม ซึ่งเกื้อหนุนกับความคิดแบบปัจเจกชนนิยมดังกล่าว ประกอบกับการถูกลดทอนลงของอำนาจพระสังฆราช (pope) และจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการปฏิรูป(the Reformation) ภายใต้อำราจการปกครองและอำนาจทางการเมืองที่เข้มแข็งของกษัตริย์ที่ได้เติบโตถ่วงดุลอำนาจใหม่ระหว่างอาณาจักรและศาสนจักรในคาบเวลาต่อมา การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงได้หวนกลับมามีความสำคัญอีกครั้ง ด้วยการนำองค์ความรู้และผลวารของนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ในสมัยกรีกโบราณและโรมันมาปัดฝุ่นอีกครั้งดังกล่าว
วิวัฒนาการของรัฐศาสตร์ได้เดินทางเรื่อยมากระทั่งถึง ยุคใหม่ ซึ่งนับเริ่มตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศาสตราจารย์ ดร.บรรพต วีระสัย และอวยชัย ชบา ได้อธิบายว่า ในยุคนี้ วิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์มักไม่สนใจในเรื่องมาตรฐานของความดีหรือความชั่วความควรหรือไม่ควรในทางการเมือง แต่หันไปให้ความสนใจกับการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขี้นเป็นกรณี ๆ ไปหรือที่เรียกกันว่า การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioralism ดู “BEHAVIORALISM” ) ด้วยการให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูลที่ได้จาการรวบรวมเชิงประจักษ์และผ่านกระบวนการแสวงหาความรู้ที่อิงแนวคิด ทฤษฎีหรือข้อสรุปทั่วไป(Generalization) มากกว่าในยุคแรกที่เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาทางการเมือง (บรรพต วีระสัย และอวยชัย ชบา 2525, 16)โดยมุ่งพิจารณาเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือการเสนอแนะรูปแบบการประพฤติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น 16 นี่เป็นสิ่งที่อธิบายให้เห็นได้ว่าเหตุใดการศึกษารัฐศาสตร์โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมุ่งเน้นไปในเรื่องของการศึกษาปรากฎการณ์และพฤติกรรมทางเมือง
การลำดับวิวัฒนาการของการศึกษาหรือความเป็นมาของวิชารัฐศาสตร์ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น เราอาจสรุปเป็นหัวข้อการแบ่งวิวัฒนาการของการศึกษารัฐศาสตร์ออกเป็น 4 สมัยด้วยกัน ดังที่ ทินพันธ์ นาคะตะ (2541, 14-17) ได้เสนอดังนี้
1. สมัยที่ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาทางศีลธรรมทั่วไป
ในสมัยนี้ นับเนื่องจากสมัยกรีกโบราณจนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นเวลายาว นานประมาณ 2,500 ปี ลักษณะสำคัญของการศึกษารัฐศาสตร์ยุคนี้คือวิชาการเมืองยังคงรวมศึกษาอยู่ในการศึกษาเกี่ยวกับสังคมทั่วไป จึงยังไม่ปรากฎสาขาวิชาย่อยใด ๆ ของศาสตร์ว่าด้วยดารเมืองเช่นในสมัยปัจจุบัน การศึกษาได้เน้นในเรืองความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสังคมตะวันตก โดยในสายตัวของนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาแบบเน้นความเป็นศาสตร์ รัฐศาสตร์ในยุคนี้มิได้มีความเป็นศาสตร์อันแท้จริงและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื้อหาสาระของวิชาส่วนใหญ่จึงประกอบด้วยหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กันน้อย ขาดแนวคิดทางทฤษฎีที่ชัดเจนและขาดระเบียบวิธีการศึกษาที่รัดกุม โดยมีลักษณะเป็นการรวบรวมการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสังคมในสมัยหนึ่ง ๆ ซึ่งไม่ค่อยซ้ำแบบกันมาศึกษาเท่านั้น
2. สมัยการศึกษาในเรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ
การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้กล่าวได้ว่าเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นวิชาการเมืองที่มีลักษณะเป็นศาสตร์ โดยมีนักคิดสำคัญชื่อศาสตราจารย์เบอร์เกส (J. W.Burgess) ร่วมกับนักคิดหลายท่านเป็นผู้นำแนวทางการศึกษาแบบปฏิฐานนิยม (Positivism)ของเจเรมี่ เบนแธม (Jeremy Bentham) และออสติน แรนนี่ (Austin Ranney) มาปรับใช้ในการศึกษาความเป็นไปไม่เกี่ยวกับรัฐ นับจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มปรากฎตำราต่าง ๆ ทางรัฐศาสตร์อย่างมากมายหลากหลาย โดยเน้นความสนใจศึกษาในเรื่องความก้าวหน้าของกฎหมาย ข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองแบบต่าง ๆ อำนาจที่เป็นทางการของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาล ประกอบควบคู่กับการศึกษาเรื่องปรัชญาการเมืองโบราณเป้าหมายของการปกครองและเป้าหมายของรัฐ และเน้นศึกษาความเป็นจริงทางการเมืองต่าง ๆ มากขึ้น
3. สมัยการศึกษารัฐศาสตร์เชิงอำนาจ หรือระยะที่สาม
การศึกษาการเมืองในยุคนี้ได้เน้นความสนใจศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ต่อสู้แข่งขันกันเพื่อมีอำนาจทางการเมือง จวบจนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือราวปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ความประการนี้พิจารณาจากแนวคิดของนักวิชาการสำคัญบางท่านได้แก่ เบนท์ลี่ (Bently) และทรูแมน (Truman) ที่เห็นว่ากิจกรรมทางการเมืองเป็นปรากฎการณ์ของกลุ่มหรือการเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ หรือเป็นการศึกษาที่เน้นในเรื่องกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งเป็นความพยายามอธิบายว่าการเมืองเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เพื่อมีอิทธิพลหรืออำนาจเหนือการปกครองและนโยบายสาธารณะ อันเป็นการขยายขอบเขตของการศึกษาให้กว้างขวางมากขึ้นไปกว่าการยึดหลักกฎหมายและสถาบันที่มีอยู่ในสังคม ในระยะนี้เอง การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ได้ประกอบไปด้วยเรื่องปรัชญาทางการเมือง กฎหมายมหาชน การปกครองภายในประเทศรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ การปกครองเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศความก้าวหน้าเช่นนี้ส่งผลประการสำคัญต่อการศึกษารัฐศาสตร์ในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งมีทฤษฎีต่าง ๆ สำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเน้นในการปฏิบัติที่สนใจศึกษาปัญหาต่าง ๆ ของสังคม
4. สมัยการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioralism)
เป็นยุคที่การศึกษารัฐศาสตร์มีพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวคือ เป็นการศึกษารัฐศาสตร์โดยหันมาให้ความสนใจอธิบายสาเหตุของปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ มีการนำเทคนิคในเชิงศาสตร์(Science) อย่างมีแนวคิดและทฤษฎีเป็นกรอบกำหนดความสัมพันธ์ของสิ่งที่ศึกษามาศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของตัวบุคคล เช่น การศึกษาทัศนคติ สิ่งจูงใจ ค่านิยมแทนการศึกษาในรัฐศาสตร์ในเชิงโครงสร้างและสถาบัน ซึ่งมีผลทำให้วิชาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นศาสตร์เชิงวิเคราะห์มากขึ้น การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์นี้ กล่าวได้ว่าเป็นแนวทางการวิเคราะห์ที่แตกต่างไปจากแนวการศึกษาในรัฐศาสตร์แบบเก่า (Traditional Method) ซึ่งเป็นการใช้แนวทางการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ด้วยปรัชญาทางการเมืองคลาสสิค อันจัดว่าเป็นวิธีการที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด และมีลักษณะสำคัญเน้นในการประเมินค่าทางการเมือง การวินิจฉัยสถาบันหรือวิธีดำเนินการทางการเมืองว่าอย่างไรดี อย่างไรเลว อย่างไรจึงจะยุติธรรม และนำไปสู่การมีชีวิตที่ดีของประชาชน 22 ด้วยการอนุมาน (deductive) มากกว่าการพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผล (rationlity) เช่นที่ได้กล่าวถึงแนวความคิดของเพลโต้และอริสโตเติ้ลเป็นตัวอย่างการใช้รูปแบบการประเมินหรือการวินิจฉัยคุณค่าด้วยแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งจากนักวิชาการรุ่นใหม่ที่แสวงหาความเป็นสากลและความน่าเชื่อถือในความรู้ของรัฐศาสตร์
ด้วยเหตุนี้ในปี 1920 นักรัฐศาสตร์อเมริกันบุคคลสำคัญซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ชื่อชาร์ลส์ เมอร์เรี่ยม (Charles E.Merrian) จึงได้นำเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ทางการเมืองแบบพฤติกรรมขึ้น โดยนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแสวงหาความรู้สำหรับทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะ พฤติกรรมทางการเมืองของปัจเจกบุคคลอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แบบที่ไม่เคร่งครัดมากนัก เพียงแต่มีลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantification) ที่เป็นระบบและใช้การสังเกตการณ์ ไปจนถึงการใช้หลักการและสมมติฐานทางการวิจัยอย่างรัดกุมสมบูรณ์แบบมากกว่าการเป็นประเด็นทางปรัชญาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัมนาข้อสรุปทั่วไปที่สร้างขึ้นจากข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Generalization) และสร้างทฤษฎีที่เป็นระบบ (Systematic Theory) หรือมีทฤษฎีไว้เป็นแนวทางที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ นำไปอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง อันได้รับการกล่าวถึงว่าจะเป็นผลดีต่อวิชารัฐศาสตร์เป็นอันมาก ดังความเห็นของอีสตัน (David Eastion) นักรัฐศาสตร์ชื่อก้อง เจ้าของแนวคิดทฤษฎีระบบ ในสารานุกรม Intermational Encyclopedia of Social Science (1968) และยังช่วยให้นักรัฐศาสตร์สามารถมุ่งความสนใจศึกษาปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีความสำคัญต่อสังคม และศึกษาได้ง่ายขึ้น เช่น การศึกษาพฤติกรรมในการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน เป็นต้น
การศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมมีความหมายเช่นไร จำเป็นเพียงไหนและมีลักษณะอย่างไร จะได้กล่าวถึงไว้โดยสังเขปเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้ศึกษาดังนี้
การศึกษารัฐศาสตร์ในรูปแบบพฤติกรรมศาสตร์นั้นกล่าวได้ว่าเริ่มต้นกล่าวถึงกันนับแต่ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา โดยอิทธิพลของแนวคิดปฏิฐานนิยมเชิงตรรก (Logical Positivism) ที่ได้ฝังรากลึกลงในการศึกษาวิทยาการทางสังคมศาสตร์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ช่วยให้เกิดการวางกรอบความคิดทฤษฎีและขอบเขตของการศึกษาสาขาต่าง ๆ รวมทั้งรัฐศาสตร์ที่ชัดเจนสอดคล้องกับความคิดและสิ่งที่ศึกษาในแต่ละเรื่อง หรือช่วยสร้างรูปแบบวิธีการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับกันถึงความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ 23 อันส่งผลให้การศึกษาในแบบปรัชญาและแนวนิติสถาบัน ซึ่งไม่มีรูปแบบและไม่สามารถพิสูจน์โดยหลักทางตรรกศาสตร์ได้ถูกกีดกันออกไปจากวงการวิชาการรัฐศาสตร์ในสังคมตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งนับจาก ค.ศ. 1950 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสนใจอย่างเข้มข้นและความพยายามในการผลักดันให้การศึกษารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาที่อิงวิทยาศาสตร์ ดังกล่าวได้เปิดทางให้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) เข้ามามีอิทธิพลของการศึกษารัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลต่อการศึกษาและวิเคราะห์การเมือง (Gabriel A. Almond 1990, chapter 2) ที่ยังได้รับความนิยมมาจนปัจจุบัน
คำว่า รัฐศาสตร์
คำว่ารัฐศาสตร์ หากพิจารณาโดยแยกศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า “POLITICAL SCIENCE” เพื่อกำหนดความหมายพื้นฐานของรัฐศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ว่า “POLITICS” ซึ่งหมายความว่า การเมือง นั้น มีรากศัพท์มาจากคำว่า “polis” ในภาษากรีก หมายถึงนครรัฐ เป็นการจัดองค์กรทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่ได้บังเกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้ว ในขณะที่ “SCIENCE” ก็คือศาสตร์ หรือวิชาในการแสวงหาความรู้ รัฐศาสตร์ตามรากศัพท์นี้ จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือการสร้างบ้านเมือง หรือการสถาปนาชุมชน/เมืองขนาดใหญ่ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้คนใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยความสันติสุข
นักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้ที่ได้ให้ความหมายของคำว่ารัฐศาสตร์ที่น่าสนใจพึงกล่าวถึงได้แก่ ยูเลา (Heinz Eulau 1963, 3) ซึ่งกล่าวว่า รัฐศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาว่าทำไมมนุษย์จึงคิดสร้างการปกครองมนุษย์ขึ้นมา
เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 1-3) ให้นิยามของรัฐศาสตร์ว่าเป็น ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ (Science of the state) โดยเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ วิวัฒนาการของรัฐ และรัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกี่ยวกับองค์การปกครองหรือสถาบันทางการเมืองของรัฐ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธ์ของเอกชนหรือกลุ่มชนกับรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ตลอดจนจนแนวการศึกษาความคิดทางการเมืองอันมีอิทธิพลมหาศาลต่อความคิดของนักการเมืองเอกของโลก และต่อวิวัฒนาการของรัฐและการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองการปกครอง ในทำนองเดียวกัน จรูญ สุภาพ (2522, 1) ได้นิยามรัฐศาสตร์ว่าเป็น สาขาขององค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ (Social Science) ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐ ซึ่งกล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การจัดองค์กรทางการเมืองการปกครอง รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง และวิธีรดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ โดยความหมายดังนี้ รัฐศาสตร์ จึงเป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับ 3 สิ่งคือ รัฐ สถาบันทางการเมืองการปกครอง และแนวความคิดทางการเมืองการปกครอง
มองลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับขอบข่ายเนื้อหาของการศึกษารัฐศาสตร์ เราจะได้นิยามความหมายของรัฐศาสตร์ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำเนิด การรวม การเปลี่ยนแปลง และความเสื่อมของชุมชนการเมืองทั้งหลาย ตอลดจนรูปแบบของการปกครอง กฎเกณฑ์และการปฏิบัติที่ชุมชนต่าง ๆ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือทำการตัดสินใจ รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ ที่ต่อกัน โดยเรื่องสำคัญ ๆ ที่ศึกษาได้แก่เรื่องความรุนแรง การปฏิวัติ การสงคราม ความสงบเรียบร้อย การปกครองแบบประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ การเลือกตั้ง การบริหาร หน้าที่พลเมือง การสรรหาผู้นำ ความปลอดภัยของชาติกับองค์การระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์กับพฤติกรรมทางการเมือง การกำหนดนโยบายสาธารณะ อุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของฝูงชน (Eulau and March 1975, 5)
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ (เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ 2508, 10) เห็นว่า รัฐศาสตร์คือ การศึกษาเกี่ยวกับรัฐ และวิธีการอันเหมาะสมที่สุด ในอันที่จะปฏิบัติตามวิชาการที่เกี่ยวกับรัฐ ขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์จึงรวมถึงส่วนประกอบทุกส่วนในความสัมพันธ์ภายในและภายนอกรัฐ
ทินพันธ์ นาคะตะ (2541, 3) อธิบายว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งสำคัญ ต่าง ๆ ประกอบด้วย กำเนิดและลักษณะของรัฐ สถาบันการเมืองการปกครอง อำนาจ การตัดสินตกลงใจและนโยบายสาธารณะ ระบบการเมือง รวมทั้งการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจ และหาคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ บังเกิดขึ้น
รัฐศาสตร์ในเชิงที่เป็นระเบียบการปกครอง อันแตกต่างไปจากคำว่า “การปกครอง” ที่หมายถึง ตัวกิจการที่ปฏิบัติ รัฐศาสตร์ในประการนี้จึงหมายความถึง ระบบของการปฏิบัติปกครอง โดยการจัดมาตรฐานและระเบียบภายในประชาคม (society) (เกษม อุทยานิน 2513, ข) ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ที่เป็นวิชาใหญ่ในบรรดาวิชาการว่าด้วยสังคมมนุษย์ (เกษม อุทยานิน 2513, ก)
ความหมายของรัฐศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางของรัฐศาสตร์ ซึ่งผู้เรียบเรียงขอสรุปความหมายของรัฐศาสตร์โดยยึดความหมายดังที่ อานนท์ อาภาภิรม (2545, 2) ได้สรุปให้เห็นไว้ว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาและพัฒนาการของรัฐ (Origin and Development of the State )การอธิบาย การวิเคราะห์และการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญและรัฐบาล กระบวนการทางการเมือง (Political Process) ระบบกฎหมาย (Law System) บทบัญญัติของรัฐที่ใช้บังคับต่อปัจเจกชน (Individual) และกลุ่มคน (Groups) รวมไปถึงการศึกษาถึงองค์การและกิจกรรมของพรรคการเมือง (Political Parties) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและอุดมการณ์ระหว่างรัฐ การบัญญัติและการควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดยวิธีการของกฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) การกล่าวถึงนัยยะความหมายของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์อันมีคุณลักษณะในตัวที่เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้เห็นภาพส่วนประกอบของรัฐศาสตร์แล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานแก่ผู้ศึกษาที่จะทำความเข้าใจถึงขอบเขตของการศึกษา และโยงใยไปถึงแนวการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น
นักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้ที่ได้ให้ความหมายของคำว่ารัฐศาสตร์ที่น่าสนใจพึงกล่าวถึงได้แก่ ยูเลา (Heinz Eulau 1963, 3) ซึ่งกล่าวว่า รัฐศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาว่าทำไมมนุษย์จึงคิดสร้างการปกครองมนุษย์ขึ้นมา
เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 1-3) ให้นิยามของรัฐศาสตร์ว่าเป็น ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ (Science of the state) โดยเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ วิวัฒนาการของรัฐ และรัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกี่ยวกับองค์การปกครองหรือสถาบันทางการเมืองของรัฐ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธ์ของเอกชนหรือกลุ่มชนกับรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ตลอดจนจนแนวการศึกษาความคิดทางการเมืองอันมีอิทธิพลมหาศาลต่อความคิดของนักการเมืองเอกของโลก และต่อวิวัฒนาการของรัฐและการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองการปกครอง ในทำนองเดียวกัน จรูญ สุภาพ (2522, 1) ได้นิยามรัฐศาสตร์ว่าเป็น สาขาขององค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ (Social Science) ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐ ซึ่งกล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การจัดองค์กรทางการเมืองการปกครอง รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจทางการเมืองการปกครอง และวิธีรดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ โดยความหมายดังนี้ รัฐศาสตร์ จึงเป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับ 3 สิ่งคือ รัฐ สถาบันทางการเมืองการปกครอง และแนวความคิดทางการเมืองการปกครอง
มองลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับขอบข่ายเนื้อหาของการศึกษารัฐศาสตร์ เราจะได้นิยามความหมายของรัฐศาสตร์ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำเนิด การรวม การเปลี่ยนแปลง และความเสื่อมของชุมชนการเมืองทั้งหลาย ตอลดจนรูปแบบของการปกครอง กฎเกณฑ์และการปฏิบัติที่ชุมชนต่าง ๆ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือทำการตัดสินใจ รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ ที่ต่อกัน โดยเรื่องสำคัญ ๆ ที่ศึกษาได้แก่เรื่องความรุนแรง การปฏิวัติ การสงคราม ความสงบเรียบร้อย การปกครองแบบประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ การเลือกตั้ง การบริหาร หน้าที่พลเมือง การสรรหาผู้นำ ความปลอดภัยของชาติกับองค์การระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์กับพฤติกรรมทางการเมือง การกำหนดนโยบายสาธารณะ อุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของฝูงชน (Eulau and March 1975, 5)
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ (เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ 2508, 10) เห็นว่า รัฐศาสตร์คือ การศึกษาเกี่ยวกับรัฐ และวิธีการอันเหมาะสมที่สุด ในอันที่จะปฏิบัติตามวิชาการที่เกี่ยวกับรัฐ ขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์จึงรวมถึงส่วนประกอบทุกส่วนในความสัมพันธ์ภายในและภายนอกรัฐ
ทินพันธ์ นาคะตะ (2541, 3) อธิบายว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งสำคัญ ต่าง ๆ ประกอบด้วย กำเนิดและลักษณะของรัฐ สถาบันการเมืองการปกครอง อำนาจ การตัดสินตกลงใจและนโยบายสาธารณะ ระบบการเมือง รวมทั้งการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจ และหาคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ บังเกิดขึ้น
รัฐศาสตร์ในเชิงที่เป็นระเบียบการปกครอง อันแตกต่างไปจากคำว่า “การปกครอง” ที่หมายถึง ตัวกิจการที่ปฏิบัติ รัฐศาสตร์ในประการนี้จึงหมายความถึง ระบบของการปฏิบัติปกครอง โดยการจัดมาตรฐานและระเบียบภายในประชาคม (society) (เกษม อุทยานิน 2513, ข) ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ที่เป็นวิชาใหญ่ในบรรดาวิชาการว่าด้วยสังคมมนุษย์ (เกษม อุทยานิน 2513, ก)
ความหมายของรัฐศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางของรัฐศาสตร์ ซึ่งผู้เรียบเรียงขอสรุปความหมายของรัฐศาสตร์โดยยึดความหมายดังที่ อานนท์ อาภาภิรม (2545, 2) ได้สรุปให้เห็นไว้ว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาและพัฒนาการของรัฐ (Origin and Development of the State )การอธิบาย การวิเคราะห์และการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญและรัฐบาล กระบวนการทางการเมือง (Political Process) ระบบกฎหมาย (Law System) บทบัญญัติของรัฐที่ใช้บังคับต่อปัจเจกชน (Individual) และกลุ่มคน (Groups) รวมไปถึงการศึกษาถึงองค์การและกิจกรรมของพรรคการเมือง (Political Parties) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและอุดมการณ์ระหว่างรัฐ การบัญญัติและการควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดยวิธีการของกฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) การกล่าวถึงนัยยะความหมายของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์อันมีคุณลักษณะในตัวที่เป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้เห็นภาพส่วนประกอบของรัฐศาสตร์แล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานแก่ผู้ศึกษาที่จะทำความเข้าใจถึงขอบเขตของการศึกษา และโยงใยไปถึงแนวการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น
รัฐศาสตร์คืออะไร
รัฐศาสตร์ เป็นการศึกษากระบวนการแบ่งปันและถ่ายโอนอำนาจในกระบวนการตัดสินใจ เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอื่นๆ การศึกษาด้านรัฐศาสตร์นั้นถูกจัดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวและสถาบันที่เป็นสาธารณะ สาขาวิชานี้มักถูกแบ่งเป็นหลายด้าน เช่น รัฐศาสตร์เปรียบเทียบ รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ปรัชญาทางรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ระดับชาติ (ที่รวมการศึกษาเกี่ยวกับสถาบันหลักของรัฐ การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง และการเมืองในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น) รวมไปถึงระเบียบวิธีวิจัย
รัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง กระบวนการทางการเมือง สถาบันทางการเมือง รวมถึงปรากฏการณ์ต่างๆทางการเมือง การศึกษารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ โดยอาศัยองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาอี่นมาช่วยในการอธิบายหรือประกอบในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้น
สาขาวิชาที่สำคัญของรัฐศาสตร์
ในประเทศไทย การศึกษารัฐศาสตร์มักแบ่งออกเป็น สาขาวิชาหลักๆได้สามสาขา ดังนี้
การเมืองการปกครอง
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาในเรื่องของหลักวิชาในการเมือง การปกครอง ความคิดทางการเมือง ระบบการเมือง ระบบการปกครอง ปรัชญาการเมือง รัฐธรรมนูญ และอื่นๆ โดยมีจุดมุ่งเน้นที่ การบูรณาการองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระบบระหว่างประเทศ โดยจะเริ่มศึกษาจากทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พัฒนาการของระบบระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคง การทูตและการต่างประเทศ และอื่นๆ
รัฐประศาสนศาสตร์
เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นในการบริหารกิจการต่างๆอันเป็นของรัฐ หรือการบริหารงานภาครัฐ สาขาวิชานี้ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างมากในปัจจุบัน และเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมจากผู้สนใจศึกษารัฐศาสตร์ค่อนข้างมาก
ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย
การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง กระบวนการทางการเมือง สถาบันทางการเมือง รวมถึงปรากฏการณ์ต่างๆทางการเมือง การศึกษารัฐศาสตร์เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ โดยอาศัยองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาอี่นมาช่วยในการอธิบายหรือประกอบในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้น
สาขาวิชาที่สำคัญของรัฐศาสตร์
ในประเทศไทย การศึกษารัฐศาสตร์มักแบ่งออกเป็น สาขาวิชาหลักๆได้สามสาขา ดังนี้
การเมืองการปกครอง
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาในเรื่องของหลักวิชาในการเมือง การปกครอง ความคิดทางการเมือง ระบบการเมือง ระบบการปกครอง ปรัชญาการเมือง รัฐธรรมนูญ และอื่นๆ โดยมีจุดมุ่งเน้นที่ การบูรณาการองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระบบระหว่างประเทศ โดยจะเริ่มศึกษาจากทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พัฒนาการของระบบระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคง การทูตและการต่างประเทศ และอื่นๆ
รัฐประศาสนศาสตร์
เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นในการบริหารกิจการต่างๆอันเป็นของรัฐ หรือการบริหารงานภาครัฐ สาขาวิชานี้ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างมากในปัจจุบัน และเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมจากผู้สนใจศึกษารัฐศาสตร์ค่อนข้างมาก
ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย
การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)