วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11149 มติชนรายวัน
ประชาภิวัฒน์
โดย บุญเลิศ ช้างใหญ่
การลุกขึ้นสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีจุดเริ่มต้นมาจากการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ส.ส.พรรคพลังประชาชนเพื่อหนีการถูกยุบพรรคและฟอกความผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกพ้อง
นับจากวันที่ 25 พฤษภาคม ที่พันธมิตรนัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาถึงวันนี้ที่พันธมิตรเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาล เป็นเวลาเกือบ 120 วัน หรือ 4 เดือน แกนนำพันธมิตรต้องเผชิญกับการถูกตำรวจตั้งข้อหาต่างๆ ผู้ชุมนุมต้องเผชิญกับความยากลำบากและได้รับอันตรายจากการถูกตำรวจตระเวนชายแดนและกลุ่มคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามทุบตี ทำร้ายด้วยอาวุธ กระบอง ปืน แก๊สน้ำตา ไม้ การถูกเตะ กระทืบ ฯลฯ จนบาดเจ็บสาหัสและบาดเจ็บธรรมดาไปหลายคน
ถือเป็นการลงทุนของฝ่ายพันธมิตรเพราะการต่อสู้ในเมืองที่ใช้พลังมวลชนเข้าขับเคลื่อนต้องเสี่ยงกับการเสียเลือดเนื้อและชีวิต เพราะฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐย่อมต้องดิ้นรนและหาทางสกัดกั้น ขัดขวาง ทุกวิถีทาง
กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่า ฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐต้องพ่ายแพ้ ดังจะเห็นได้จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีอันต้องพับไป ในส่วนของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้นิยมใช้ความรุนแรงทั้งอาวุธและวาจาก็พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่ทีแรก ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลพยายามจะลงมติเลือกให้กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง แต่ก็ไม่อาจต้านทานกระแสกดดันจากพันธมิตรและฝ่ายอื่นๆ ได้ ทำให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 12 กันยายน ต้องล่มเพราะ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลพากันไม่เข้าห้องประชุม
และเมื่อพรรคพลังประชาชนจะสนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกฯมาเป็นนายกฯแทน ก็ไม่วายจะถูก ส.ส.กลุ่มก๊วนที่เป็นเพื่อนของนายเนวิน ชิดชอบ 72 คน นัดประชุมและออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับ สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพภายในพรรค
ความเห็นที่ขัดแย้งนี้ไม่ว่าจะประนีประนอมกันได้หรือไม่ อย่างไร ก็ประจานตัวเองให้ผู้คนได้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ส.ส.ในพรรคพลังประชาชนล้วนแต่ต้องการโควต้ารัฐมนตรีทั้งจำนวนและกระทรวงสำคัญให้อยู่ในกลุ่มของตนและรวมถึงการมีบทบาทในการกำหนดทิศทางของพรรค หาใช่เป็น ส.ส.ที่เปี่ยมล้นด้วยอุดมการณ์แห่งความเสียสละอันควรแก่การฝากความหวังให้นักการเมืองเหล่านี้ได้บริหารประเทศชาติ
ใครบ้างที่ปฏิเสธว่าไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง เงินและผลประโยชน์อื่นๆ ที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงให้ ส.ส.ในแต่ละก๊วนยังเกาะกลุ่มรวมตัวกันอยู่ต่อไปได้
มวลชนที่สังกัด นปช. ชมรมคนรักอุดรและผู้ที่ศรัทธา พ.ต.ท.ทักษิณ และรักนายสมัครอย่าได้เสียใจไปเลยที่เห็นความแตกแยกในพรรคพลังประชาชนเพราะนี่คือธาตุแท้ของนักการเมือง ตราบเท่าที่ผลประโยชน์ยังไม่ลงตัว ตราบนั้นจะพูดกันไม่รู้เรื่องและมักจะแสดงปฏิกิริยาออกมาโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของชาวบ้านว่าจะรำคาญและเอือมระอาแค่ไหน
กล่าวสำหรับพันธมิตรที่ได้นำเสนอ "การเมืองใหม่" และ "ประชาภิวัฒน์" ประชาชนโดยทั่วไปหรือแม้แต่คนมีความรู้ระดับนักวิชาการที่เป็นครูบาอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก รับรองได้เลยว่าไม่มีความเข้าใจว่าหมายถึงอะไร มิหนำซ้ำอาจจะมองว่าพันธมิตรเป็นตัวปัญหา การยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง การถูกตั้งข้อหากบฏนั้นชอบธรรมแล้ว การที่ 9 แกนนำพันธมิตรไม่มอบตัวและไม่ยอมให้ตำรวจเข้าไปจับกุมเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
เรียกว่ายืนอยู่ตรงข้ามกับการต่อสู้ของพันธมิตร
จริงอยู่ ด้านหนึ่งเป็นเพราะพันธมิตรยังไม่มีความชัดเจนว่าวิธีการสร้างการเมืองใหม่หรือประชาภิวัฒน์จะทำอะไร อย่างไร จะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ จะแก้มาตราไหน ให้ใครเป็นคนแก้ สื่อมวลชนก็ไม่ได้แสดงบทบาทหน้าที่ในการนำเสนอข่าวสารและการอธิบายต่อสังคม
อีกด้านหนึ่งคนในสังคม ไม่เว้นแม้แต่ปัญญาชนที่ได้ชื่อว่ามีความรู้สูงแต่กลับอับจนภูมิปัญญาที่จะคิดหาทางออกจากวังวนแห่งความตีบตันของการเมืองเก่าๆ ที่คิดได้แต่เพียงประชาธิปไตยคือการได้ไปหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงที่คูหา ไม่ได้สนใจและไม่เข้าใจว่าตนเองมีส่วนกำหนดให้พรรคการเมืองต้องเฟ้นแต่คนดีๆ มาให้สมัคร ในระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พวกตนมีสิทธิเต็มที่ที่จะเรียกร้องให้พรรคการเมืองชี้แจงวิธีปฏิบัติในนโยบายสำคัญๆ รวมทั้งแสดงความไม่พอใจหากผู้นำพรรคการเมืองหลบเลี่ยงการร่วมดีเบตบนเวที การไม่ประกาศว่าจะเอาใครมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญหากได้จัดตั้งรัฐบาล
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่คนเหล่านี้จะหงุดหงิดง่ายเมื่อเห็นการชุมนุมเกิดขึ้นและสะใจหากแกนนำพันธมิตรและผู้ชุมนุมถูกจับกุม หรือถูกทุบตี ทำร้าย
ทั้งๆ ที่ถ้าหากมีความเข้าใจระบบการเมืองการปกครองและสิทธิของประชาชนย่อมจะรู้ว่ากว่าที่ประเทศชาติจะมาถึงจุดนี้ได้ ล้วนแต่มีประชาชนจำนวนหนึ่งได้ลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิเสรีภาพจากผู้ปกครองประเทศซึ่งมีทั้งนักการเมือง ข้าราชการประจำโดยเฉพาะตำรวจและทหาร ซึ่งการเรียกร้องแต่ละครั้งกว่าจะได้สิทธิเสรีภาพมาต้องสังเวยด้วยชีวิตเลือดเนื้อและการสูญเสียอิสรภาพ
ถ้าไม่มีผู้กล้าหาญเป็นแสนเป็นล้านคน คงไม่มีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เกิดขึ้น หรือคนเหล่านี้ จะเถียงว่าการชุมนุมของประชาชนเป็นแสนเป็นล้านคนในครั้งนั้นเป็นความผิด เป็นความเลว ควรจะถูกตำรวจจับกุม ถูกยิงตายไปทั้งหมด
เช่นเดียวกับครั้งนี้ การลุกขึ้นสู้ในเมืองและเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลของพันธมิตรเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และกำลังได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วโลก ข้อเรียกร้องของแกนนำพันธมิตรอาจยังมองไม่เห็นว่าหนทางแห่งความสำเร็จจะก้าวเดินไปอย่างไร แต่อย่างน้อยที่สุดก็ได้จุดประกายแห่งความหวังว่าการเมืองใหม่จะต้องเข้ามาทดแทนการเมืองเก่าอย่างแน่นอน เพราะการเมืองเก่าอย่างที่เป็นมาแม้จะเข้าสู่การปฏิรูปการเมืองเมื่อปี 2540 ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง แต่สุดท้ายก็พังครืน จวบจนถึงวันนี้ นักการเมืองหาได้ปรับปรุงตัวเองให้เป็นผู้รับใช้ประชาชนไม่ คงเป็นเพียง "นักเลือกตั้ง" ที่ต้องลงทุน คนดีๆ ไม่มีใครอยากจะลงมาเกลือกกลั้วกับความสกปรกโสโครก การท้าทายให้ใครมาลงเลือกตั้งแข่งจึงเป็นเรื่องตลกร้ายที่น่าทุเรศที่สุด
การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของคนและเปลี่ยนวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นเรื่องยากที่สุด บางทีการเน่าเฟะของการเมืองเก่า (การเมืองปัจจุบัน) และการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมหรือความรุนแรงมาแก้ปัญหากับแกนนำพันธมิตร และผู้ชุมนุมจนเกิดจลาจลใหญ่แล้วในที่สุดผู้มีอำนาจเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนระบบตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งให้กระจายไปยังสาขาอาชีพต่างๆ และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ก็เป็นได้
เกิดมาไม่เคยเห็น "ประชาภิวัฒน์" อาจจะได้เห็นกันในยุคนี้ก็ได้!
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551
วิธีทำใจ เมื่อ.."เบื่อการเมือง"
เวลานี้เชื่อว่าหลายคนกำลังอยู่ในอาการ "เบื่อการเมือง" ไม่อยากรับรู้หรือสนใจเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันการเมืองที่กำลังเป็นอยู่
บางคนบ่นว่าเปิดวิทยุคลื่นไหนก็มีแต่เรื่องการเมือง ขนาดเปิดคลื่นเอเอ็มกะว่าจะฟังเพลงลูกทุ่งเสียหน่อย- -ดีเจ กลับนำเอาข่าวการเมืองมาอ่านให้ฟังอีก หัวหมุนติ้ว..คลื่นเหียนเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
ทั้งการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การประชุมรัฐสภาของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยุบสภา-หรือไม่ยุบ ชิงไหวชิงพริบ..ด่ากันทางอากาศ และอื่นๆ อีกมากมาย
ประชาชนส่วนหนึ่งจึงมองการเมืองแล้วรู้สึกไม่สบายใจกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้ รู้สึกไม่มีความหวัง และไม่มีทีท่าว่าเรื่องวุ่นๆ เหล่านี้จะยุติลงเมื่อใด นักการเมืองเดิมๆ หน้าเดิมๆ ยังคงกลับมามีบทบาทเวียนว่ายตายเกิดในวงจร
ท่ามกลางสถานการณ์อย่างนี้ เราคนไทยจะทำอย่างไร?
คำถามนี้หลายคนอยากรู้คำตอบ และก่อนที่จะเบื่อการเมืองมากขึ้นไปยิ่งกว่านี้ คำตอบจาก "พระพรหมคุณาภรณ์" (ป.อ.ปยุตฺโต) อาจจะพอเป็น
ทางออกและคำแนะนำสำหรับประชาชนคนไทยทั้งหลายที่กำลังเบื่อการเมืองใจจะขาดได้บ้าง
"พระพรหมคุณาภรณ์" หรือที่เราเรียกกันติดปาก "เจ้าคุณประยุทธ์" ท่านบอกเล่าถึงวิธีทำใจเมื่อกำลังเบื่อการเมืองไว้ในหนังสือชื่อ "เบื่อการเมือง" หนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ สามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนอ่านได้ในทุกโอกาสสถานที่
ก่อนจะมาเป็นหนังสือเล่มนี้ มีว่าคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความวิตกเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง ได้ไปปรึกษาพระเดชพระคุณเจ้าคุณประยุทธ์ ที่วัดญาณเวศกวัน อ.ศาลายา จ.นครปฐม ว่า ในสภาพบ้านเมืองอย่างนี้ควรทำใจอย่างไร ท่านเองมีเมตตาเทศนาธรรมชี้ทางสว่างให้ฟัง ซึ่งการสนทนาธรรมครั้งนั้นได้บันทึกเทปไว้ด้วย แล้วในที่สุดบทธรรมะดังกล่าวก็ออกมาเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ ที่ชื่อ "เบื่อการเมือง"
ในหนังสือเล่มนี้พระพรหมคุณาภรณ์ท่านบอกกล่าวถึงวิธีทำใจเมื่อเกิดอาการเบื่อการเมืองไว้หลายวิธีหลายอย่างด้วยกัน เพื่อให้คนอ่านได้เลือกใช้ว่าปัญหาและอารมณ์ของตนเองนั้นควรใช้ข้อใดในการแก้ไข
ขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นเรื่องๆ- - -
พระพรหมคุณาภรณ์
เรื่องแรกมีผู้ถามว่า เบื่อการเมืองหนักหนา อยากปิดหูปิดตาเสีย เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันมีความน่ากลัว วิธีที่คนผู้นี้เลือกทำก็คือ ไม่ดูโทรทัศน์ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่อยากเห็นหน้านักการเมืองบางคนที่มีประวัติไม่ดี จึงหนีไปอยู่พัทยา เพื่อจะได้พ้นๆ จากเรื่องราวเหล่านี้ เขาจึงอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตดี? และสถานการณ์อย่างนี้จะช่วยสังคมอย่างไร?
พระพรหมคุณาภรณ์ท่านเมื่อได้ฟังคำถาม ท่านกล่าวขึ้นว่า ต้องบอกก่อนว่าเรื่องการเมืองนี่พระไม่ยุ่งด้วย แต่พระต้องพูดเรื่องธรรมะสำหรับการเมือง คราวนี้ดูเหมือนจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาของคนที่มีความทุกข์เพราะการเมือง
เจ้าคุณประยุทธ์เทศน์ต่อว่า ที่พูดมานั้นก็เป็นการแสดงความเบื่อหน่ายต่อนักการเมือง ก็เลยพลอยเบื่อการเมืองไปด้วย คลุมไปหมด ที่สำคัญการเมืองในที่นี้เป็นเรื่องของประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น ที่ว่าเบื่อการเมืองก็เหมือนกับบอกว่าเบื่อระอาประชาธิปไตยของบ้านเมืองนี้ ถึงขนาดปิดหูปิดตาไม่อยากได้ยิน เท่ากับตัดความมีส่วนร่วมทิ้งไปเลย
"ถ้าถึงขั้นนี้ ก็เห็นจะเตรียมชี้ชะตาประชาธิปไตยของเมืองไทยได้แล้ว" เสียงพระเดชพระคุณท่านว่า
เจ้าคุณประยุทธ์กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ต้องมองเป็นขั้นๆ ไป การจะไม่ยอมรับรู้ปิดหูปิดตาไปเลย ก็หนักไปหน่อย อาจถือว่าสุดโต่งไปข้างหนึ่ง แต่ถ้าเราจะติดตามเรื่องเอาจริงเอาจังจนกระทั่งเสียการเสียงาน ใจไม่อยู่กับงาน ก็สุดโต่งไปอีกข้างเหมือนกัน
"ฉะนั้น ต้องหาความพอดี สำหรับคนทั่วไป คือไม่ใช่คนที่มีหน้าที่หรือเอาใจใส่เรื่องนั้นโดยเฉพาะ แต่ก็จำเป็นต้องรู้เรื่องสภาพแวดล้อมว่าข่าวการบ้านการเมืองที่เป็นอยู่มีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรที่เป็นข้อมูลทั่วไปพอให้ทราบไว้เพื่อว่าเราจะอยู่ได้โดยมีความสบายใจ ปรับตัวได้ทันการณ์"
"ในฐานะชาวบ้านหรือคนทั่วไปที่อยู่ในสังคมนี้ เราควรรู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างไร เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พรรคการเมืองต่างๆ แก่งแย่งคน ชิงดีชิงเด่น เราก็รู้ให้ทัน ฟังข่าวก็พอจับเรื่องได้ ไม่ต้องถึงกับติดตามเรื่องเอาจริงเอาจัง เพราะฉะนั้น ขั้นที่หนึ่งคือ ไม่ได้เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ขั้นที่สองคือไม่ให้มันเป็นภาระแก่จิตใจที่จะต้องมาคิดวิตกกังวล"
เจ้าคุณประยุทธ์ได้รับคำถามสอดแทรกเพิ่มเติมว่า ถึงแม้จะฟังแค่พอรู้ แต่มันบั่นทอนจิตใจตลอดเวลา ท่านเจ้าคุณจึงกล่าวว่า เราต้องรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น เป็นไปในสังคมไทย เอาแค่พอรู้เรื่องเท่านั้น ปัญหาอยู่ที่การวางใจของเราต่างหาก สิ่งที่ผ่านไปผ่านมา หรือเราเดินทางผ่านไป เราจะปิดตาไม่มอง ปิดหูไม่ฟัง คงไม่ถูกต้อง เราควรรับฟัง ดู เห็น ไปตามที่มันเป็น แต่เราไม่เอาใจไปหมกมุ่นกับมัน ไม่ต้องไปรู้สึกอะไร
"รู้ นี่สำคัญมาก ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เราก็ต้องรู้หรือควรจะรู้มัน เราเอาแต่ความรู้ ส่วนความรู้สึกเราไม่ยุ่ง ถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมา เราก็รู้ว่าเรามีความรู้สึกนั้น แค่นั้นพอ ไม่ต้องตามมันไป ปัญหาอยู่ที่ว่า บางทีเราไม่แยกระหว่างความรู้กับความรู้สึก พอรู้อะไร ความรู้สึกก็มาทันที เพราะว่าพอรู้ก็มีถูกใจหรือไม่ถูกใจ ชอบใจหรือไม่ชอบใจ นี่คือรู้สึกแล้วแทนที่จะอยู่กับความรู้หรือเก็บความรู้ต่อไป เลยไถลไปกับความรู้สึก นี่คือผิดทาง.."
"ในทางที่ถูก เมื่อรู้สึกไม่ชอบใจ ก็ให้รู้ตัวว่าเราไม่ชอบใจ แล้วก็จบ รู้ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย ถ้าไม่รู้เลยจะลำบากมาก พอเกิดอะไรขึ้นมาก็มองไม่ออกว่าสถานการณ์นี้มันมาอย่างไร จะไปอย่างไร เมื่อรู้แล้วต้องรู้ให้เท่าทัน ต้องแยกความรู้กับความรู้สึกให้ได้.."
คำแนะนำของท่านเจ้าคุณยังมีต่อไป จากคำถามที่ว่า "นักการเมืองบางคนพอเราเห็นหน้าเขาแล้วก็ไม่พอใจ เขาเป็นคนไม่ดี แต่ก็ยังอยู่ในแวดวงการเมือง ทำไมสังคมถึงยอมรับเขา จะทำอย่างไรดี?"
ท่านเจ้าคุณก็ว่า ต้องรู้ทัน แต่ไม่เอาตัวเข้าไปหมกมุ่น สำหรับเรารู้แค่ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น รู้ระดับนี้ก็พอแล้ว เมื่อเหตุการณ์เป็นไปอย่างไรเราก็พอ
มองออกเพราะมีข้อมูล แต่คนที่ไม่มีข้อมูล เวลาเกิดอะไรขึ้นจะมองไม่ออก ตั้งท่าทีไม่ถูก แล้วเรื่องบ้านเมืองนี่ต่อไปมันต้องมาเกี่ยวกับเราแน่นอน
"ที่ว่านักการเมืองไม่ดี ทำไมอยู่ในแวดวงการเมืองได้ดีและสังคมก็ยอมรับ นี่ก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่าสังคมนี้ชอบนักการเมืองอย่างนั้น ปัญหาจึงไม่รู้แค่ที่ตัวนักการเมือง แต่อยู่ที่สังคมทั้งหมด คือคนทั่วไปมีคุณภาพแค่นั้น เพราะฉะนั้นจะแก้ปัญหาให้ได้ผลจริง ก็หนีไม่พ้นว่าต้องพัฒนาคุณภาพของประชาชน ดังนั้น คุณภาพของประชาธิปไตย จึงอยู่ที่คุณภาพของประชาชน.." เป็นคำตอบของท่านเจ้าคุณ
อีกคำถามหนึ่งที่ดูเหมือนแทงใจดำของคนดีทั่วประเทศ มีว่า "สถานการณ์บ้านเมืองทุกวันนี้ คนดีไม่อยากไปยุ่งเพราะรู้สึกต้านกระแสไม่ไหว คนมีประวัติด่างพร้อยเข้ามาเต็มไปหมด..?"
ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ตอบคำถามนี้ว่า "เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระยะยาว คือไม่ใช่แค่ว่าคนดีท้อใจ แต่อีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้างกว่าคือ เป็นเพราะสภาพสังคมมีค่านิยมที่เป็นปัญหาด้วย มันจึงไม่เอื้อ คือค่านิยมของสังคมไม่ได้เชิดชูคนดี เพราะฉะนั้น คนดีจึงไม่มีกำลัง ถ้าหากสังคมมีค่านิยมเชิดชูคนดี ยกย่องคนดี ก็จะยกคนดีให้มีกำลังเองไปสู้ได้ คนกลัวการเมืองแบบที่ว่าเลยไม่กล้าเข้าไป ถ้าอย่างนั้นเราอาจไปเดินทางด้านอื่น โดยคิดในระยะยาวว่าจะต้องทำอย่างไรในการที่จะแก้ปัญหานี้ แล้วอาจคิดได้วิธีการที่ออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปเข้าสนามเดียวกับเขา..ทางนี้ไม่ถูกต้อง ไม่ได้ผล ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการไปใช้วิธีการแห่งปัญญา.."
ตัวอย่างคำถามที่ยกมาตอบคำถามในใจของใครหลายคน หากต้องการอ่านอย่างละเอียดจุใจ หนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ นี้จำหน่ายในราคาย่อมเยา เพราะสิ่งที่ต้องการไม่ใช่สตังค์ แต่ต้องการเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป
"เบื่อการเมือง" พิมพ์ที่สำนักพิมพ์วัลลดา จัดจำหน่ายโดยศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2255-4433 หรือ www.chulabook.com
สถานการณ์บ้านเมืองเวลานี้ นอกจากต้อง "รู้ให้เท่าทัน" อย่างท่านเจ้าคุณแนะแล้ว คำตบท้ายของท่านก็น่าคิดไม่น้อย- -
"สังคมไทยทุกวันนี้ไม่มีหลัก ถ้าสังคมไทยมีหลักแค่ 3 ข้อต้นของมงคลสูตร คือไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาคนที่ควรบูชา สังคมก็ไปรอดแล้ว แต่คนไทยในปัจจุบันแค่ 3 ข้อต้นของมงคลสูตร ก็ยังไม่ได้ จะไปรอดได้อย่างไร? นอกจากจะไม่ได้แล้วยังไปทางตรงกันข้าม สวนทางไปเสียอีก แล้วจะพ้นอัปมงคลได้อย่างไร...?" เป็นคำถามที่คนไทยทั้งหลายต้องหาคำตอบกันเอาเอง
ใครคือคนพาล ใครคือบัณฑิต และใครเป็นคนที่ควรบูชา
บางคนบ่นว่าเปิดวิทยุคลื่นไหนก็มีแต่เรื่องการเมือง ขนาดเปิดคลื่นเอเอ็มกะว่าจะฟังเพลงลูกทุ่งเสียหน่อย- -ดีเจ กลับนำเอาข่าวการเมืองมาอ่านให้ฟังอีก หัวหมุนติ้ว..คลื่นเหียนเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
ทั้งการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การประชุมรัฐสภาของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยุบสภา-หรือไม่ยุบ ชิงไหวชิงพริบ..ด่ากันทางอากาศ และอื่นๆ อีกมากมาย
ประชาชนส่วนหนึ่งจึงมองการเมืองแล้วรู้สึกไม่สบายใจกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้ รู้สึกไม่มีความหวัง และไม่มีทีท่าว่าเรื่องวุ่นๆ เหล่านี้จะยุติลงเมื่อใด นักการเมืองเดิมๆ หน้าเดิมๆ ยังคงกลับมามีบทบาทเวียนว่ายตายเกิดในวงจร
ท่ามกลางสถานการณ์อย่างนี้ เราคนไทยจะทำอย่างไร?
คำถามนี้หลายคนอยากรู้คำตอบ และก่อนที่จะเบื่อการเมืองมากขึ้นไปยิ่งกว่านี้ คำตอบจาก "พระพรหมคุณาภรณ์" (ป.อ.ปยุตฺโต) อาจจะพอเป็น
ทางออกและคำแนะนำสำหรับประชาชนคนไทยทั้งหลายที่กำลังเบื่อการเมืองใจจะขาดได้บ้าง
"พระพรหมคุณาภรณ์" หรือที่เราเรียกกันติดปาก "เจ้าคุณประยุทธ์" ท่านบอกเล่าถึงวิธีทำใจเมื่อกำลังเบื่อการเมืองไว้ในหนังสือชื่อ "เบื่อการเมือง" หนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ สามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนอ่านได้ในทุกโอกาสสถานที่
ก่อนจะมาเป็นหนังสือเล่มนี้ มีว่าคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความวิตกเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง ได้ไปปรึกษาพระเดชพระคุณเจ้าคุณประยุทธ์ ที่วัดญาณเวศกวัน อ.ศาลายา จ.นครปฐม ว่า ในสภาพบ้านเมืองอย่างนี้ควรทำใจอย่างไร ท่านเองมีเมตตาเทศนาธรรมชี้ทางสว่างให้ฟัง ซึ่งการสนทนาธรรมครั้งนั้นได้บันทึกเทปไว้ด้วย แล้วในที่สุดบทธรรมะดังกล่าวก็ออกมาเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ ที่ชื่อ "เบื่อการเมือง"
ในหนังสือเล่มนี้พระพรหมคุณาภรณ์ท่านบอกกล่าวถึงวิธีทำใจเมื่อเกิดอาการเบื่อการเมืองไว้หลายวิธีหลายอย่างด้วยกัน เพื่อให้คนอ่านได้เลือกใช้ว่าปัญหาและอารมณ์ของตนเองนั้นควรใช้ข้อใดในการแก้ไข
ขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นเรื่องๆ- - -
พระพรหมคุณาภรณ์
เรื่องแรกมีผู้ถามว่า เบื่อการเมืองหนักหนา อยากปิดหูปิดตาเสีย เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันมีความน่ากลัว วิธีที่คนผู้นี้เลือกทำก็คือ ไม่ดูโทรทัศน์ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่อยากเห็นหน้านักการเมืองบางคนที่มีประวัติไม่ดี จึงหนีไปอยู่พัทยา เพื่อจะได้พ้นๆ จากเรื่องราวเหล่านี้ เขาจึงอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตดี? และสถานการณ์อย่างนี้จะช่วยสังคมอย่างไร?
พระพรหมคุณาภรณ์ท่านเมื่อได้ฟังคำถาม ท่านกล่าวขึ้นว่า ต้องบอกก่อนว่าเรื่องการเมืองนี่พระไม่ยุ่งด้วย แต่พระต้องพูดเรื่องธรรมะสำหรับการเมือง คราวนี้ดูเหมือนจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาของคนที่มีความทุกข์เพราะการเมือง
เจ้าคุณประยุทธ์เทศน์ต่อว่า ที่พูดมานั้นก็เป็นการแสดงความเบื่อหน่ายต่อนักการเมือง ก็เลยพลอยเบื่อการเมืองไปด้วย คลุมไปหมด ที่สำคัญการเมืองในที่นี้เป็นเรื่องของประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น ที่ว่าเบื่อการเมืองก็เหมือนกับบอกว่าเบื่อระอาประชาธิปไตยของบ้านเมืองนี้ ถึงขนาดปิดหูปิดตาไม่อยากได้ยิน เท่ากับตัดความมีส่วนร่วมทิ้งไปเลย
"ถ้าถึงขั้นนี้ ก็เห็นจะเตรียมชี้ชะตาประชาธิปไตยของเมืองไทยได้แล้ว" เสียงพระเดชพระคุณท่านว่า
เจ้าคุณประยุทธ์กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ต้องมองเป็นขั้นๆ ไป การจะไม่ยอมรับรู้ปิดหูปิดตาไปเลย ก็หนักไปหน่อย อาจถือว่าสุดโต่งไปข้างหนึ่ง แต่ถ้าเราจะติดตามเรื่องเอาจริงเอาจังจนกระทั่งเสียการเสียงาน ใจไม่อยู่กับงาน ก็สุดโต่งไปอีกข้างเหมือนกัน
"ฉะนั้น ต้องหาความพอดี สำหรับคนทั่วไป คือไม่ใช่คนที่มีหน้าที่หรือเอาใจใส่เรื่องนั้นโดยเฉพาะ แต่ก็จำเป็นต้องรู้เรื่องสภาพแวดล้อมว่าข่าวการบ้านการเมืองที่เป็นอยู่มีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรที่เป็นข้อมูลทั่วไปพอให้ทราบไว้เพื่อว่าเราจะอยู่ได้โดยมีความสบายใจ ปรับตัวได้ทันการณ์"
"ในฐานะชาวบ้านหรือคนทั่วไปที่อยู่ในสังคมนี้ เราควรรู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างไร เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พรรคการเมืองต่างๆ แก่งแย่งคน ชิงดีชิงเด่น เราก็รู้ให้ทัน ฟังข่าวก็พอจับเรื่องได้ ไม่ต้องถึงกับติดตามเรื่องเอาจริงเอาจัง เพราะฉะนั้น ขั้นที่หนึ่งคือ ไม่ได้เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ขั้นที่สองคือไม่ให้มันเป็นภาระแก่จิตใจที่จะต้องมาคิดวิตกกังวล"
เจ้าคุณประยุทธ์ได้รับคำถามสอดแทรกเพิ่มเติมว่า ถึงแม้จะฟังแค่พอรู้ แต่มันบั่นทอนจิตใจตลอดเวลา ท่านเจ้าคุณจึงกล่าวว่า เราต้องรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น เป็นไปในสังคมไทย เอาแค่พอรู้เรื่องเท่านั้น ปัญหาอยู่ที่การวางใจของเราต่างหาก สิ่งที่ผ่านไปผ่านมา หรือเราเดินทางผ่านไป เราจะปิดตาไม่มอง ปิดหูไม่ฟัง คงไม่ถูกต้อง เราควรรับฟัง ดู เห็น ไปตามที่มันเป็น แต่เราไม่เอาใจไปหมกมุ่นกับมัน ไม่ต้องไปรู้สึกอะไร
"รู้ นี่สำคัญมาก ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เราก็ต้องรู้หรือควรจะรู้มัน เราเอาแต่ความรู้ ส่วนความรู้สึกเราไม่ยุ่ง ถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมา เราก็รู้ว่าเรามีความรู้สึกนั้น แค่นั้นพอ ไม่ต้องตามมันไป ปัญหาอยู่ที่ว่า บางทีเราไม่แยกระหว่างความรู้กับความรู้สึก พอรู้อะไร ความรู้สึกก็มาทันที เพราะว่าพอรู้ก็มีถูกใจหรือไม่ถูกใจ ชอบใจหรือไม่ชอบใจ นี่คือรู้สึกแล้วแทนที่จะอยู่กับความรู้หรือเก็บความรู้ต่อไป เลยไถลไปกับความรู้สึก นี่คือผิดทาง.."
"ในทางที่ถูก เมื่อรู้สึกไม่ชอบใจ ก็ให้รู้ตัวว่าเราไม่ชอบใจ แล้วก็จบ รู้ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย ถ้าไม่รู้เลยจะลำบากมาก พอเกิดอะไรขึ้นมาก็มองไม่ออกว่าสถานการณ์นี้มันมาอย่างไร จะไปอย่างไร เมื่อรู้แล้วต้องรู้ให้เท่าทัน ต้องแยกความรู้กับความรู้สึกให้ได้.."
คำแนะนำของท่านเจ้าคุณยังมีต่อไป จากคำถามที่ว่า "นักการเมืองบางคนพอเราเห็นหน้าเขาแล้วก็ไม่พอใจ เขาเป็นคนไม่ดี แต่ก็ยังอยู่ในแวดวงการเมือง ทำไมสังคมถึงยอมรับเขา จะทำอย่างไรดี?"
ท่านเจ้าคุณก็ว่า ต้องรู้ทัน แต่ไม่เอาตัวเข้าไปหมกมุ่น สำหรับเรารู้แค่ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น รู้ระดับนี้ก็พอแล้ว เมื่อเหตุการณ์เป็นไปอย่างไรเราก็พอ
มองออกเพราะมีข้อมูล แต่คนที่ไม่มีข้อมูล เวลาเกิดอะไรขึ้นจะมองไม่ออก ตั้งท่าทีไม่ถูก แล้วเรื่องบ้านเมืองนี่ต่อไปมันต้องมาเกี่ยวกับเราแน่นอน
"ที่ว่านักการเมืองไม่ดี ทำไมอยู่ในแวดวงการเมืองได้ดีและสังคมก็ยอมรับ นี่ก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่าสังคมนี้ชอบนักการเมืองอย่างนั้น ปัญหาจึงไม่รู้แค่ที่ตัวนักการเมือง แต่อยู่ที่สังคมทั้งหมด คือคนทั่วไปมีคุณภาพแค่นั้น เพราะฉะนั้นจะแก้ปัญหาให้ได้ผลจริง ก็หนีไม่พ้นว่าต้องพัฒนาคุณภาพของประชาชน ดังนั้น คุณภาพของประชาธิปไตย จึงอยู่ที่คุณภาพของประชาชน.." เป็นคำตอบของท่านเจ้าคุณ
อีกคำถามหนึ่งที่ดูเหมือนแทงใจดำของคนดีทั่วประเทศ มีว่า "สถานการณ์บ้านเมืองทุกวันนี้ คนดีไม่อยากไปยุ่งเพราะรู้สึกต้านกระแสไม่ไหว คนมีประวัติด่างพร้อยเข้ามาเต็มไปหมด..?"
ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ตอบคำถามนี้ว่า "เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระยะยาว คือไม่ใช่แค่ว่าคนดีท้อใจ แต่อีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้างกว่าคือ เป็นเพราะสภาพสังคมมีค่านิยมที่เป็นปัญหาด้วย มันจึงไม่เอื้อ คือค่านิยมของสังคมไม่ได้เชิดชูคนดี เพราะฉะนั้น คนดีจึงไม่มีกำลัง ถ้าหากสังคมมีค่านิยมเชิดชูคนดี ยกย่องคนดี ก็จะยกคนดีให้มีกำลังเองไปสู้ได้ คนกลัวการเมืองแบบที่ว่าเลยไม่กล้าเข้าไป ถ้าอย่างนั้นเราอาจไปเดินทางด้านอื่น โดยคิดในระยะยาวว่าจะต้องทำอย่างไรในการที่จะแก้ปัญหานี้ แล้วอาจคิดได้วิธีการที่ออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปเข้าสนามเดียวกับเขา..ทางนี้ไม่ถูกต้อง ไม่ได้ผล ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการไปใช้วิธีการแห่งปัญญา.."
ตัวอย่างคำถามที่ยกมาตอบคำถามในใจของใครหลายคน หากต้องการอ่านอย่างละเอียดจุใจ หนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ นี้จำหน่ายในราคาย่อมเยา เพราะสิ่งที่ต้องการไม่ใช่สตังค์ แต่ต้องการเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป
"เบื่อการเมือง" พิมพ์ที่สำนักพิมพ์วัลลดา จัดจำหน่ายโดยศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2255-4433 หรือ www.chulabook.com
สถานการณ์บ้านเมืองเวลานี้ นอกจากต้อง "รู้ให้เท่าทัน" อย่างท่านเจ้าคุณแนะแล้ว คำตบท้ายของท่านก็น่าคิดไม่น้อย- -
"สังคมไทยทุกวันนี้ไม่มีหลัก ถ้าสังคมไทยมีหลักแค่ 3 ข้อต้นของมงคลสูตร คือไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาคนที่ควรบูชา สังคมก็ไปรอดแล้ว แต่คนไทยในปัจจุบันแค่ 3 ข้อต้นของมงคลสูตร ก็ยังไม่ได้ จะไปรอดได้อย่างไร? นอกจากจะไม่ได้แล้วยังไปทางตรงกันข้าม สวนทางไปเสียอีก แล้วจะพ้นอัปมงคลได้อย่างไร...?" เป็นคำถามที่คนไทยทั้งหลายต้องหาคำตอบกันเอาเอง
ใครคือคนพาล ใครคือบัณฑิต และใครเป็นคนที่ควรบูชา
วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551
เมืองพัทยา
พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ฉบับ วันที่ 29 พฤจิกายน พ.ศ. 2521 (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่ามีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน
ประวัติเมืองพัทยา
เริ่มรู้จักกันจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า 3 เดือน พระยาตาก (สิน) ขณะนั้นยังเป็นพระยากำแพงเพชร ลงความเห็นว่า หากกรุงศรีอยุธยายังต่อสู้กับพม่าอย่างอ่อนแอเช่นนี้ ต่อไปจะต้องสูญเสียกรุงให้พม่าอย่างแน่นอน พระยากำแพงเพชรจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกออกไปตั้งหลักใหม่ ให้มีกำลังทัพเข้มแข็งขึ้นค่อยกลับมากู้กรุงคืน พระยากำแพงเพชรได้เริ่มเคลื่อนทัพออกจากค่ายวัดพิชัยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สู้พรางร่นถอยหนีการตามล่า ของทหารพม่าไปพลาง จนกระทั่งเลยเข้าแขวงเมืองชลบุรี พระยากำแพงเพชรหยุดพักทัพที่บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามในปัจจุบัน แล้วเดินทัพมุ่งตรงไปยังจันทบุรี ระหว่างทางได้พักที่บ้านหนองไผ่ ตำบลนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ปัจจุบันอยู่ด้านหลังสถานีตำรวจภูธรพัทยา
ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 2 กล่าวเอาไว้ว่า ขณะที่ นายกลม เป็นนายชุมนุมคุมไพร่ พลอยู่ที่นั่น ตั้งทัพคอยสกัดคิดจะต่อรองพระยากำแพงเพชรในตอนนั้นขึ้นช้างพลายถือปืนนกสับรางแดงพร้อม ด้วยพลทหารที่ร่วมเดินทางมาแห่ล้อมหน้าหลัง ตรงเข้าไปในระหว่างพวกพลนายกลมมาสกัดอยู่ ด้วยเดชะบารมีบันดาลให้นายกลมเกิดเกรงกลัวพระเดชานุภาพวางอาวุธสิ้น พาพรรคพวกพลเข้าร่วมกองทัพกับพระยากำแพง เพชร จากนั้นพระยากำแพงเพชรก็นำทัพไปหยุดประทับ ณ สถานที่ที่มีหนองน้ำครั้งรุ่งขึ้น หรือวันอังคารแรม 6 ค่ำ เดือนยี่
นายกลมจึงนำไพร่พลหมี่นหนึ่งนำทัพไปถึง ณ ตำบลหนึ่ง และหยุดพักเสียหนึ่งคืน วันต่อมาจึงเดินทัพมาถึง นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ โดยหยุดพักแรมแห่งละคืน ต่อมาชาวบ้านก็เรียกตำบลนี้ว่า ทัพพระยา และเปลี่ยนมาเรียกใหม่ พัทธยา เนื่องจากเห็นว่าตรงบริเวณที่พระยาตากมาตั้งทัพนั้นทำเลดี และมีลมทะเลชื่อ ลมพัทธยา ซึ่งก็คือลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน จึงเรียกสถานที่ แห่งนี้ว่า หมู่บ้านพัทธยา ต่อมาปัจจุบันคำว่า พัทธยา ได้เขียนใหม่เป็น พัทยา[1]
อีกเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พัทยาเป็นที่รู้จักไปทั่ว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เมื่อมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ของทหารอเมริกันประมาณ 4-5 คัน บรรทุกทหารเต็มคันรถ ประมาณคันละ 100 คน จากจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่นั่นมีฐานทัพของทหารอเมริกันอยู่ มุ่งมาสู่พัทยา และมาเช่าบ้านตากอากาศของพระยาสุนทร บริเวณตอนใต้ของหาด โดยผลัดกันมาพักผ่อนเป็นงวด งวดละสัปดาห์ จากพฤติกรรมของทหารอเมริกันเช่นนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวเมืองพัทยาตอนนี้เอง จากสภาพหมู่บ้านชายทะเลที่เงียบสงบ ก็พลันเปลี่ยนกลับกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศ
ในเวลาต่อมา หมู่บ้านพัทยาก็ถูกพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ในระดับนานาชาติ เป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก อย่างเช่นปัจจุบัน
ประวัติเมืองพัทยา
เริ่มรู้จักกันจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า 3 เดือน พระยาตาก (สิน) ขณะนั้นยังเป็นพระยากำแพงเพชร ลงความเห็นว่า หากกรุงศรีอยุธยายังต่อสู้กับพม่าอย่างอ่อนแอเช่นนี้ ต่อไปจะต้องสูญเสียกรุงให้พม่าอย่างแน่นอน พระยากำแพงเพชรจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกออกไปตั้งหลักใหม่ ให้มีกำลังทัพเข้มแข็งขึ้นค่อยกลับมากู้กรุงคืน พระยากำแพงเพชรได้เริ่มเคลื่อนทัพออกจากค่ายวัดพิชัยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สู้พรางร่นถอยหนีการตามล่า ของทหารพม่าไปพลาง จนกระทั่งเลยเข้าแขวงเมืองชลบุรี พระยากำแพงเพชรหยุดพักทัพที่บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามในปัจจุบัน แล้วเดินทัพมุ่งตรงไปยังจันทบุรี ระหว่างทางได้พักที่บ้านหนองไผ่ ตำบลนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ปัจจุบันอยู่ด้านหลังสถานีตำรวจภูธรพัทยา
ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 2 กล่าวเอาไว้ว่า ขณะที่ นายกลม เป็นนายชุมนุมคุมไพร่ พลอยู่ที่นั่น ตั้งทัพคอยสกัดคิดจะต่อรองพระยากำแพงเพชรในตอนนั้นขึ้นช้างพลายถือปืนนกสับรางแดงพร้อม ด้วยพลทหารที่ร่วมเดินทางมาแห่ล้อมหน้าหลัง ตรงเข้าไปในระหว่างพวกพลนายกลมมาสกัดอยู่ ด้วยเดชะบารมีบันดาลให้นายกลมเกิดเกรงกลัวพระเดชานุภาพวางอาวุธสิ้น พาพรรคพวกพลเข้าร่วมกองทัพกับพระยากำแพง เพชร จากนั้นพระยากำแพงเพชรก็นำทัพไปหยุดประทับ ณ สถานที่ที่มีหนองน้ำครั้งรุ่งขึ้น หรือวันอังคารแรม 6 ค่ำ เดือนยี่
นายกลมจึงนำไพร่พลหมี่นหนึ่งนำทัพไปถึง ณ ตำบลหนึ่ง และหยุดพักเสียหนึ่งคืน วันต่อมาจึงเดินทัพมาถึง นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ โดยหยุดพักแรมแห่งละคืน ต่อมาชาวบ้านก็เรียกตำบลนี้ว่า ทัพพระยา และเปลี่ยนมาเรียกใหม่ พัทธยา เนื่องจากเห็นว่าตรงบริเวณที่พระยาตากมาตั้งทัพนั้นทำเลดี และมีลมทะเลชื่อ ลมพัทธยา ซึ่งก็คือลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน จึงเรียกสถานที่ แห่งนี้ว่า หมู่บ้านพัทธยา ต่อมาปัจจุบันคำว่า พัทธยา ได้เขียนใหม่เป็น พัทยา[1]
อีกเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พัทยาเป็นที่รู้จักไปทั่ว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เมื่อมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ของทหารอเมริกันประมาณ 4-5 คัน บรรทุกทหารเต็มคันรถ ประมาณคันละ 100 คน จากจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่นั่นมีฐานทัพของทหารอเมริกันอยู่ มุ่งมาสู่พัทยา และมาเช่าบ้านตากอากาศของพระยาสุนทร บริเวณตอนใต้ของหาด โดยผลัดกันมาพักผ่อนเป็นงวด งวดละสัปดาห์ จากพฤติกรรมของทหารอเมริกันเช่นนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวเมืองพัทยาตอนนี้เอง จากสภาพหมู่บ้านชายทะเลที่เงียบสงบ ก็พลันเปลี่ยนกลับกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศ
ในเวลาต่อมา หมู่บ้านพัทยาก็ถูกพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ในระดับนานาชาติ เป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก อย่างเช่นปัจจุบัน
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษ (หนึ่งในสองเขต อีกแห่งคือ พัทยา) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง และมีการแต่งตั้งปลัดกรุงเทพมหานครร่วมบริหารงาน การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพคนปัจจุบัน คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ นายพงศักติ์ฐ เสมสันต์
ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)
ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือ ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
คำขวัญของกรุงเทพมหานคร :(กรุงเทพมหานครไม่มีคำขวัญประจำจังหวัด)ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษ แก้ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์ (น่าจะเป็นข้อความรณรงค์มากกว่าคำขวัญ)
การปกครองในกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 50 เขตการปกครอง
เขต (อังกฤษ: Khet) คือชื่อของระดับการปกครองของรัฐบาลระดับเดียวกับ อำเภอ ซึ่งเป็นระดับสอง รองมาจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ในแต่ละเขตจะแบ่งย่อยออกเป็น แขวง ในปัจจุบันกรุงเทพ ฯ มี 50 เขต ในบางครั้งจะมีการสับสนการใช้ ระหว่างคำว่า เขต และ อำเภอ
50 เขตทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร
เขตพระนคร
เขตดุสิต
เขตหนองจอก
เขตบางรัก
เขตบางเขน
เขตบางกะปิ
เขตปทุมวัน
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตพระโขนง
เขตมีนบุรี
เขตลาดกระบัง
เขตยานนาวา
เขตสัมพันธวงศ์
เขตพญาไท
เขตธนบุรี
เขตบางกอกใหญ่
เขตห้วยขวาง
เขตคลองสาน
เขตตลิ่งชัน
เขตบางกอกน้อย
เขตบางขุนเทียน
เขตภาษีเจริญ
เขตหนองแขม
เขตราษฎร์บูรณะ
เขตบางพลัด
เขตดินแดง
เขตบึงกุ่ม
เขตสาทร
เขตบางซื่อ
เขตจตุจักร
เขตบางคอแหลม
เขตประเวศ
เขตคลองเตย
เขตสวนหลวง
เขตจอมทอง
เขตดอนเมือง
เขตราชเทวี
เขตลาดพร้าว
เขตวัฒนา
เขตบางแค
เขตหลักสี่
เขตสายไหม
เขตคันนายาว
เขตสะพานสูง
เขตวังทองหลาง
เขตคลองสามวา
เขตบางนา
เขตทวีวัฒนา
เขตทุ่งครุ
เขตบางบอน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพคนปัจจุบัน คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ นายพงศักติ์ฐ เสมสันต์
ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)
ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือ ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
คำขวัญของกรุงเทพมหานคร :(กรุงเทพมหานครไม่มีคำขวัญประจำจังหวัด)ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษ แก้ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์ (น่าจะเป็นข้อความรณรงค์มากกว่าคำขวัญ)
การปกครองในกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 50 เขตการปกครอง
เขต (อังกฤษ: Khet) คือชื่อของระดับการปกครองของรัฐบาลระดับเดียวกับ อำเภอ ซึ่งเป็นระดับสอง รองมาจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ในแต่ละเขตจะแบ่งย่อยออกเป็น แขวง ในปัจจุบันกรุงเทพ ฯ มี 50 เขต ในบางครั้งจะมีการสับสนการใช้ ระหว่างคำว่า เขต และ อำเภอ
50 เขตทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร
เขตพระนคร
เขตดุสิต
เขตหนองจอก
เขตบางรัก
เขตบางเขน
เขตบางกะปิ
เขตปทุมวัน
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตพระโขนง
เขตมีนบุรี
เขตลาดกระบัง
เขตยานนาวา
เขตสัมพันธวงศ์
เขตพญาไท
เขตธนบุรี
เขตบางกอกใหญ่
เขตห้วยขวาง
เขตคลองสาน
เขตตลิ่งชัน
เขตบางกอกน้อย
เขตบางขุนเทียน
เขตภาษีเจริญ
เขตหนองแขม
เขตราษฎร์บูรณะ
เขตบางพลัด
เขตดินแดง
เขตบึงกุ่ม
เขตสาทร
เขตบางซื่อ
เขตจตุจักร
เขตบางคอแหลม
เขตประเวศ
เขตคลองเตย
เขตสวนหลวง
เขตจอมทอง
เขตดอนเมือง
เขตราชเทวี
เขตลาดพร้าว
เขตวัฒนา
เขตบางแค
เขตหลักสี่
เขตสายไหม
เขตคันนายาว
เขตสะพานสูง
เขตวังทองหลาง
เขตคลองสามวา
เขตบางนา
เขตทวีวัฒนา
เขตทุ่งครุ
เขตบางบอน
องค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 โดยยกฐานะจากสภาตำบล ที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
รูปแบบองค์การ
องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหกคน และในกรณีมีเพียงสองหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละสามคน
องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
การบริหาร
กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58) ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น เรียกว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
อำนาจหน้าที่ของ อบต.
อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
การท่องเที่ยว
การผังเมือง
ประเภทของ อบต
ปัจจุบันมีการแก้ไขประเภทของ อบต.แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ 1.อบต.ขนาดใหญ่ 2.อบต.ขนาดกลาง 3.อบต.ขนาดเล็ก แต่เดิมนั้น อบต. แบ่งออกตามลำดับได้เป็น 5 ประเภทและมีจำนวนองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ ประจำปี 2543ดังนี้
อบต. ชั้นที่ 1 จำนวน อบต. 74 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 2 จำนวน อบต. 78 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 3 จำนวน อบต. 205 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 4 จำนวน อบต. 844 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 5 จำนวน อบต. 5196 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 5 จัดตั้งใหม่ (14 ธันวาคม 2542) จำนวน อบต. 349 แห่ง
รวม อบต. ทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 6746 แห่ง
รูปแบบองค์การ
องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหกคน และในกรณีมีเพียงสองหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละสามคน
องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
การบริหาร
กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58) ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น เรียกว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
อำนาจหน้าที่ของ อบต.
อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
การท่องเที่ยว
การผังเมือง
ประเภทของ อบต
ปัจจุบันมีการแก้ไขประเภทของ อบต.แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ 1.อบต.ขนาดใหญ่ 2.อบต.ขนาดกลาง 3.อบต.ขนาดเล็ก แต่เดิมนั้น อบต. แบ่งออกตามลำดับได้เป็น 5 ประเภทและมีจำนวนองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ ประจำปี 2543ดังนี้
อบต. ชั้นที่ 1 จำนวน อบต. 74 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 2 จำนวน อบต. 78 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 3 จำนวน อบต. 205 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 4 จำนวน อบต. 844 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 5 จำนวน อบต. 5196 แห่ง
อบต. ชั้นที่ 5 จัดตั้งใหม่ (14 ธันวาคม 2542) จำนวน อบต. 349 แห่ง
รวม อบต. ทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 6746 แห่ง
เทศบาลนครเชียงใหม่
เทศบาลนครเชียงใหม่ หรือ เขตนครเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีพิกัดภูมิศาสตร์ 18°47′20″ เหนือ 98°59′00″ ตะวันออก นครเชียงใหม่ ถูกเปรียบว่าเป็น กุหลาบแห่งเมืองเหนือ เนื่องด้วยเป็นเมืองที่สวยงาม บรรยากาศดีแห่งหนึ่งของประเทศ นครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือ มีศักยภาพและความพร้อมในหลาย ๆ ด้านมาก
ประวัติเทศบาลนครเชียงใหม่
นครเชียงใหม่ เมื่อเริ่มแรกมีฐานะเป็นเพียงสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 และยังขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปีพ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติสมควรจัดตั้งชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุขาภิบาลให้มีฐานะเป็น เทศบาล โดยในครั้งนั้นนครเชียงใหม่ได้รับฐานะใหม่จากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น "เทศบาลนครเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2478 นับเป็นเทศบาลนครแห่งแรกในประเทศไทย
ประชากร
นครเชียงใหม่มีประชากรประมาณ 150,000 คน
พื้นที่
นครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 ตารางกิโลเมตรโดยครอบคลุมพื้นที่ 14 ตำบลของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ ตำบลสุเทพ ตำบลป่าแดด ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และตำบลช้างเผือก
การแบ่งเขตการปกครอง
นครเชียงใหม่แบ่งการปกครอง ออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
แขวงนครพิงค์ มีพื้นที่ 11.7 ตารางกิโลเมตร
แขวงกาวิละ มีพื้นที่ 11.4 ตารางกิโลเมตร
แขวงเม็งราย มีพื้นที่ 7.7 ตารางกิโลเมตร
แขวงศรีวิชัย มีพื้นที่ 9.2 ตารางกิโลเมตร
ประวัติเทศบาลนครเชียงใหม่
นครเชียงใหม่ เมื่อเริ่มแรกมีฐานะเป็นเพียงสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 และยังขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปีพ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติสมควรจัดตั้งชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุขาภิบาลให้มีฐานะเป็น เทศบาล โดยในครั้งนั้นนครเชียงใหม่ได้รับฐานะใหม่จากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น "เทศบาลนครเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2478 นับเป็นเทศบาลนครแห่งแรกในประเทศไทย
ประชากร
นครเชียงใหม่มีประชากรประมาณ 150,000 คน
พื้นที่
นครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 ตารางกิโลเมตรโดยครอบคลุมพื้นที่ 14 ตำบลของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ ตำบลสุเทพ ตำบลป่าแดด ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และตำบลช้างเผือก
การแบ่งเขตการปกครอง
นครเชียงใหม่แบ่งการปกครอง ออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
แขวงนครพิงค์ มีพื้นที่ 11.7 ตารางกิโลเมตร
แขวงกาวิละ มีพื้นที่ 11.4 ตารางกิโลเมตร
แขวงเม็งราย มีพื้นที่ 7.7 ตารางกิโลเมตร
แขวงศรีวิชัย มีพื้นที่ 9.2 ตารางกิโลเมตร
เทศบาล
เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการ กระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิก กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543 จากวิวัฒนา การรูปแบบการปกครองท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่น รูปสุขาภิบาลจนหมดสิ้น ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ทำให้มีเทศบาลใน ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,164 แห่ง
การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครอง ท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานคร และเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมี การทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตาม รูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ให้ สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้
"มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมย์ของประชาชนในจังหวัดนั้น"
สภาเทศบาล
เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน
เทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 18 คน
เทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 24 คน
ทั้งนี้ สภาเทศบาล ประกอบไปด้วย ประธานสภาเทศบาลหนึ่งคน และรองประธานสภาเทศบาลสองคน และนายกเทศบาล ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานในเทศบาลทั้งหมด
โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิก กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543 จากวิวัฒนา การรูปแบบการปกครองท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่น รูปสุขาภิบาลจนหมดสิ้น ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ทำให้มีเทศบาลใน ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,164 แห่ง
การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครอง ท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานคร และเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมี การทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตาม รูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ให้ สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้
"มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมย์ของประชาชนในจังหวัดนั้น"
สภาเทศบาล
เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน
เทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 18 คน
เทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 24 คน
ทั้งนี้ สภาเทศบาล ประกอบไปด้วย ประธานสภาเทศบาลหนึ่งคน และรองประธานสภาเทศบาลสองคน และนายกเทศบาล ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานในเทศบาลทั้งหมด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ในเขตจังหวัด ตลอดทั้งช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาลและ อบต. รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน
ประวัติ
การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการตามลำดับ โดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ฐานะของสภาจังหวัด ขณะนั้น มีลักษณะเป็นองค์กรแทนประชาชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด ยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือเป็นหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 ขึ้น โดยมีความประสงค์ที่จะแยกกฎหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะสำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯนั้น ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะและบทบาทของสภาจังหวัดไปจากเดิม กล่าวคือ สภาจังหวัดยังคงทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของคณะกรรมการจังหวัดเท่านั้น จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบบริหารราชการส่วนจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ โดยตรงแทนคณะกรรมการจังหวัดเดิม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯ นี้ ทำให้สภาจังหวัดมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่เนื่องจากบทบาทและการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษา ซึ่งคอยให้คำแนะนำและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของจังหวัด ไม่สู้จะได้ผลสมตามความมุ่งหมายเท่าใดนัก จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการปกครองตนเองยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 อันมีผลให้เกิด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขึ้นตามกฎหมายโดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกจากจังหวัด ในฐานะที่เป็นราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง
การเลือกตั้งผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ประชาชนในแต่ละจังหวัดสามารถเลือกตัวแทนเข้ามาบริหาร อบจ.ได้โดยตรงโดยการเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. การเลือกตั้งนายก อบจ. ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครนายก อบจ. ได้ 1 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง อำเภอที่มีสมาชิกสภา อบจ. ได้มากกว่า 1 คน จะแบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภา อบจ. ที่มีในอำเภอนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครได้เขตเลือกตั้งละ 1 คน ส่วน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบบริหารกิจการของ อบจ. ที่มีปลัด อบจ. เป็นหัวหน้า พนักงานทั้งหมดใน อบจ. และนายก อบจ. แต่งตั้งรองนายกซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบจ. เป็นผู้ช่วย เหลือในการบริหารงาน มีวาระการทำงานคราวละ 4 ปี
ประวัติ
การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการตามลำดับ โดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ฐานะของสภาจังหวัด ขณะนั้น มีลักษณะเป็นองค์กรแทนประชาชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด ยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือเป็นหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 ขึ้น โดยมีความประสงค์ที่จะแยกกฎหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะสำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯนั้น ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะและบทบาทของสภาจังหวัดไปจากเดิม กล่าวคือ สภาจังหวัดยังคงทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของคณะกรรมการจังหวัดเท่านั้น จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบบริหารราชการส่วนจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ โดยตรงแทนคณะกรรมการจังหวัดเดิม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯ นี้ ทำให้สภาจังหวัดมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่เนื่องจากบทบาทและการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษา ซึ่งคอยให้คำแนะนำและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของจังหวัด ไม่สู้จะได้ผลสมตามความมุ่งหมายเท่าใดนัก จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการปกครองตนเองยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 อันมีผลให้เกิด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขึ้นตามกฎหมายโดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกจากจังหวัด ในฐานะที่เป็นราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง
การเลือกตั้งผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ประชาชนในแต่ละจังหวัดสามารถเลือกตัวแทนเข้ามาบริหาร อบจ.ได้โดยตรงโดยการเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. การเลือกตั้งนายก อบจ. ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครนายก อบจ. ได้ 1 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง อำเภอที่มีสมาชิกสภา อบจ. ได้มากกว่า 1 คน จะแบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภา อบจ. ที่มีในอำเภอนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครได้เขตเลือกตั้งละ 1 คน ส่วน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบบริหารกิจการของ อบจ. ที่มีปลัด อบจ. เป็นหัวหน้า พนักงานทั้งหมดใน อบจ. และนายก อบจ. แต่งตั้งรองนายกซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบจ. เป็นผู้ช่วย เหลือในการบริหารงาน มีวาระการทำงานคราวละ 4 ปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)